22 กันยายน, 2552




การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาและชุมชน
โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 เป็นโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา โอบล้อมด้วยขุนเขาและธรรมชาตินานาชนิด ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม เก็บหาของป่าขายเลี้ยงชีพ ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติศาสนา ตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่น ประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่ามีให้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนบางครั้งดูเหมือนว่าหมู่บ้านนี้ไม่มีเงียบเหงา การละเล่นพื้นบ้านที่บางครั้งบางคนอาจไม่มีโอกาสได้ดูได้ชมและได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการละเล่นนั้น แฝงไปด้วยความสนุกสนาน ความสามัคคี บ่งบอกชีวิตความเป็นอยู่ และความมีวัฒนธรรมมาช้านาน
นักเรียนโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 เป็นนักเรียนชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น อาข่า(อีก้อ) มูเซอ(ลาหู่) เย้า(เมี่ยน) ลีซอ ม้ง กะเหรี่ยง จีนฮ่อ พม่า และคนไทย การใช้ภาษาก็แตกต่างกันออกไปตามฐานะความเป็นอยู่ ครอบครัวที่มีเงินมากหน่อยก็สามารถพูดภาษาอื่นได้เนื่องจากต้องติดต่อทำการค้ากับเผ่าอื่น ส่วนครอบครัวที่มีน้อยส่วนใหญ่ก็จะเข้าป่าหาอย่างเดี่ยวบางครั้งก็ได้แค่พอเลี้ยงตัวไปวันๆ แต่การพูดในโรงเรียนทุกคนจะใช้ภาษากลางในการสื่อสาร คือภาษาไทย นักเรียนที่นี่เป็นนักเรียนชาวเขาที่พูดภาษาไทยค่อนข้างชัดเจน
การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะความรู้ความสามารถตามความสนใจของตัวเอง มีกิจกรรมให้นักเรียนเลือกหลากหลายกิจกรรมเช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกีฬา และกิจกรรมดนตรีวงโยธวาทิต โดยทุกกิจกรรมผู้บริหารจะให้ความสนใจดูแล และพัฒนาควบคู่กันไป โดยไม่มุ่งเน้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ นักเรียนสามารถหาประสบการณ์จากกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้อย่างเต็มที่ เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อตามสถานศึกษาที่ตนชอบได้ และหลายคนสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันนั้นๆ
จุดแข็ง ( Strengths )
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นตัวเด็ก
2. ความอดทนพยายามของนักเรียนชาวเขา
3. การทุ่มเทเวลาในการศึกษาของนักเรียน
4. การบริหารงานที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
จุดอ่อน ( Weakness )
1. ฐานะทางบ้านของนักเรียนไม่สามารถต่อยอดความสนใจของนักเรียน
2. ความห่างไกลเทคโนโลยีบางอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต
3. การย้ายของบุคลากรในโรงเรียนเนื่องจากเป็นโรงเรียนชาวเขา
4. นักเรียนบางคนต้องไปช่วยผู้ปกครองทำไร่ในวันเปิดเรียน
โอกาส ( Opportunities )
1. แนวโน้มการให้การศึกษาฟรีกับนักเรียนจะทำให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนมาเรียนมากขึ้น
2. อัตราการจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีมากขึ้น
3. อัตราการเรียนจบและศึกษาต่อในสถาบันอื่นมีมากขึ้น
4. มีผู้สนใจให้การสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนเพิ่มขึ้น
อุปสรรค ( Threat )
1. การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา
2. นโยบายเรียนฟรีและงบประมาณที่จะได้รับในปีต่อไป
3. ฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองนักเรียน
4. ความคาดหวังของคนในสังคม

วัตถุประสงค์
1. นักเรียนชาวเขาเผ่าต่างมีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
2. หลายภาคส่วนราชการหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาของนักเรียนชาวเขา
3. นักเรียนสามารถนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญได้
4. รัฐบาลเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มมากขึ้น

การกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา
1. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้มากขึ้น เช่น การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต การพูดคุยสนทนาจากห้องสนทนาต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนสื่อประเภทต่างๆที่ทันสมัยเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
3. จัดให้ชุมชนได้เรียนรู้ควบคู่ไปกับนักเรียนโดยให้ความรู้กับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาราชการ
4. โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศบ่อยครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจนติดเป็นนิสัย และใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว
5. โรงเรียนควรจัดหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นระบบ ต่อเนื่อง โดยจัดการศึกษาตั้งแต่พื้นฐานจนถึงการประยุกต์ใช้ ให้นักเรียนสามารถใช้ได้ทุกคน
6. ควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด หากมีการทำผิดหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นต้องมีการให้ความรู้โดยละเอียด เพื่อความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดกับตัวนักเรียนเอง

06 กันยายน, 2552

"ยิ่งสูง ยิ่งหนาว"
บรรยากาศบนดอยม่อนคลุย
ประสบการณ์ที่แสนคุ้มค่า