22 กันยายน, 2552




การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาและชุมชน
โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 เป็นโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา โอบล้อมด้วยขุนเขาและธรรมชาตินานาชนิด ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม เก็บหาของป่าขายเลี้ยงชีพ ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติศาสนา ตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่น ประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่ามีให้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนบางครั้งดูเหมือนว่าหมู่บ้านนี้ไม่มีเงียบเหงา การละเล่นพื้นบ้านที่บางครั้งบางคนอาจไม่มีโอกาสได้ดูได้ชมและได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการละเล่นนั้น แฝงไปด้วยความสนุกสนาน ความสามัคคี บ่งบอกชีวิตความเป็นอยู่ และความมีวัฒนธรรมมาช้านาน
นักเรียนโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 เป็นนักเรียนชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น อาข่า(อีก้อ) มูเซอ(ลาหู่) เย้า(เมี่ยน) ลีซอ ม้ง กะเหรี่ยง จีนฮ่อ พม่า และคนไทย การใช้ภาษาก็แตกต่างกันออกไปตามฐานะความเป็นอยู่ ครอบครัวที่มีเงินมากหน่อยก็สามารถพูดภาษาอื่นได้เนื่องจากต้องติดต่อทำการค้ากับเผ่าอื่น ส่วนครอบครัวที่มีน้อยส่วนใหญ่ก็จะเข้าป่าหาอย่างเดี่ยวบางครั้งก็ได้แค่พอเลี้ยงตัวไปวันๆ แต่การพูดในโรงเรียนทุกคนจะใช้ภาษากลางในการสื่อสาร คือภาษาไทย นักเรียนที่นี่เป็นนักเรียนชาวเขาที่พูดภาษาไทยค่อนข้างชัดเจน
การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะความรู้ความสามารถตามความสนใจของตัวเอง มีกิจกรรมให้นักเรียนเลือกหลากหลายกิจกรรมเช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกีฬา และกิจกรรมดนตรีวงโยธวาทิต โดยทุกกิจกรรมผู้บริหารจะให้ความสนใจดูแล และพัฒนาควบคู่กันไป โดยไม่มุ่งเน้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ นักเรียนสามารถหาประสบการณ์จากกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้อย่างเต็มที่ เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อตามสถานศึกษาที่ตนชอบได้ และหลายคนสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันนั้นๆ
จุดแข็ง ( Strengths )
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นตัวเด็ก
2. ความอดทนพยายามของนักเรียนชาวเขา
3. การทุ่มเทเวลาในการศึกษาของนักเรียน
4. การบริหารงานที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
จุดอ่อน ( Weakness )
1. ฐานะทางบ้านของนักเรียนไม่สามารถต่อยอดความสนใจของนักเรียน
2. ความห่างไกลเทคโนโลยีบางอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต
3. การย้ายของบุคลากรในโรงเรียนเนื่องจากเป็นโรงเรียนชาวเขา
4. นักเรียนบางคนต้องไปช่วยผู้ปกครองทำไร่ในวันเปิดเรียน
โอกาส ( Opportunities )
1. แนวโน้มการให้การศึกษาฟรีกับนักเรียนจะทำให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนมาเรียนมากขึ้น
2. อัตราการจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีมากขึ้น
3. อัตราการเรียนจบและศึกษาต่อในสถาบันอื่นมีมากขึ้น
4. มีผู้สนใจให้การสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนเพิ่มขึ้น
อุปสรรค ( Threat )
1. การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา
2. นโยบายเรียนฟรีและงบประมาณที่จะได้รับในปีต่อไป
3. ฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองนักเรียน
4. ความคาดหวังของคนในสังคม

วัตถุประสงค์
1. นักเรียนชาวเขาเผ่าต่างมีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
2. หลายภาคส่วนราชการหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาของนักเรียนชาวเขา
3. นักเรียนสามารถนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญได้
4. รัฐบาลเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มมากขึ้น

การกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา
1. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้มากขึ้น เช่น การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต การพูดคุยสนทนาจากห้องสนทนาต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนสื่อประเภทต่างๆที่ทันสมัยเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
3. จัดให้ชุมชนได้เรียนรู้ควบคู่ไปกับนักเรียนโดยให้ความรู้กับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาราชการ
4. โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศบ่อยครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจนติดเป็นนิสัย และใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว
5. โรงเรียนควรจัดหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นระบบ ต่อเนื่อง โดยจัดการศึกษาตั้งแต่พื้นฐานจนถึงการประยุกต์ใช้ ให้นักเรียนสามารถใช้ได้ทุกคน
6. ควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด หากมีการทำผิดหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นต้องมีการให้ความรู้โดยละเอียด เพื่อความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดกับตัวนักเรียนเอง

06 กันยายน, 2552

"ยิ่งสูง ยิ่งหนาว"
บรรยากาศบนดอยม่อนคลุย
ประสบการณ์ที่แสนคุ้มค่า




08 สิงหาคม, 2552

รายได้สถานศึกษา

รายได้สถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534โดยให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล* และสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล** บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและบัญชีในส่วนที่เป็นรายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 วรรค3 กำหนดให้ “ บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากที่
ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ ” ซึ่งหมายความว่า เงินรายได้สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่บรรดารายได้ ผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ เงินที่มีผู้มอบให้ (ทั้งระบุวัตถุประสงค์ชัดแจ้งและไม่ระบุวัตถุประสงค์) และเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับสถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 59 วรรค 4 กำหนดให้ “ บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณให้สถานศึกษาสามารถจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดารศึกษาของสถานศึกษานั้นๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด ” ซึ่งหมายความว่าเงินรายได้สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ บรรดารายได้ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุซึ่งได้เนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงเงินงบประมาณรายจ่ายดังนั้น เงินรายได้ของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล จึงมีข้อแตกต่าง ดังนี้
1) เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้าง
ทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ ซึ่งสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลสามารถนำเงินดังกล่าวเป็นรายได้ของสถานศึกษาโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนสถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคลยังต้องนำเงินดังกล่าวนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
2) เงินที่ผู้มอบให้โดยระบุวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง ไม่ถือเป็นรายได้ของสถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล
การรับเงินและการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษาการรับเงินและการเก็บรักษาเงิน
* สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล หมายถึง สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
** สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล หมายถึง โรงเรียน วิทยาลัย หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
ซึ่งมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และให้หมายรวมถึงสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่กระทรวงการคลังกำหนด
การรับเงินและการเก็บรักษาเงิน
สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงินเว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนด และต้องควบคุมใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้สำหรับการเก็บรักษาเงิน ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินสดและเงินฝากธนาคารไว้เพื่อสำรองใช้จ่ายได้ภายในวงเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง(หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0414/07509 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ) ส่วนที่เกินให้นำฝากกรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังจังหวัด/สำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ แล้วแต่กรณี สำหรับดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นผลประโยชน์ที่สถานศึกษาสามารถเก็บเป็นกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 59 วรรคสาม
การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายเงิน
1) ให้นำไปใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง
กับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแห่งนั้น ยกเว้นเงินรายได้สถานศึกษาในส่วนที่เป็นเงินที่มีผู้มอบให้สถานศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง ให้นำไปจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะในกิจการที่ผู้มอบระบุวัตถุประสงค์ในการใช้เงินเท่านั้นห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) ให้สถานศึกษานำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง
กับการจัดการศึกษาได้ตามหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการ ดังนี้
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล
1. ให้ใช้จ่ายในการจัดการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษา ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ให้ใช้จ่ายเงินตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้เรียน ความคุ้มค่า ความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
2. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ในส่วนที่เป็นเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง ให้นำไปใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะในกิจการที่ผู้มอบระบุวัตถุประสงค์เท่านั้น
2. การใช้จ่ายเงินรายได้ ให้กระทำได้เฉพาะรายจ่ายที่พึงจ่ายได้จากเงินงบประมาณรายจ่ายตามเกณฑ์ ดังนี้
2.1 รายจ่ายงบดำเนินงาน ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
2.2 รายจ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์เฉพาะที่จำเป็นแก่การปฏิบัติราชการ สำหรับสถานศึกษาที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 500,000 บาท
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล(ต่อ) สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล(ต่อ)
2.3 รายจ่ายประเภทค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 5,000,000 บาท
2.4 รายจ่ายเพื่อสมทบค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณที่สำนักงบประมาณกำหนด*
3. การใช้จ่ายเงินนอกเหนือจาก ข้อ 2 ให้สถานศึกษาดำเนินการได้ดังนี้
3.1 รายจ่ายงบบุคลากร รายการค่าจ้างชั่วคราวเฉพาะกรณีสถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
3.2 รายจ่ายงบดำเนินงาน ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
3.3 รายจ่ายเงินอุดหนุน สำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจนและขาดแคลน
3.4 รายจ่ายงบลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับรายการค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 1,000,000 บาท และรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่ำกว่า 10,000,000 บาท
3.5 รายจ่ายเพื่อสมทบรายการค่าครุภัณฑ์ หรือรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณที่ทางราชการกำหนด*
3. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษาในประเภทต่อไปนี้ ให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.1 รายจ่ายประเภทค่าจ้างชั่วคราว
3.2 รายจ่ายงบดำเนินงานที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
3.3 รายจ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์ ที่มีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่500,000 บาท ฃึ้นไป
3.4 ราจ่ายประเภทค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่ 5,000,000 บาทขึ้นไป
* ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจโอนและเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับจัดสรรภายใต้แผนงานเดียวกัน รวมถึงการนำเงินนอกงบประมาณ ไปเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ และรายการสิ่งก่อสร้างไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล(ต่อ) สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล(ต่อ)
4. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อเป็นเงินยืม ให้ดำเนินการได้ดังนี้
4.1 การยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการของสถานศึกษา
4.2 การดำเนินงานเพี่อจัดหารายได้ของสถานศึกษา
4.3 การยืมเพื่อทดรองจ่ายเกี่ยวกับเงินสวัสดิการของข้าราชการและลูกจ้างของสถานศึกษา เฉพาะในส่วนที่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณมาชดใช้เงินรายได้สถานศึกษาได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร เป็นต้น
4. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อเป็นเงินยืม ให้กระทำได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
4.1 การยืมเพื่อทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการหรือจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา
4.2 การยืมเงินเพื่อใช้ทดรองจ่ายในกรณีอื่น ๆ ที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีหนังสือที่ ศธ 04002/1987 ลงวันที่15 มกราคม 2548 ให้สถานศึกษา/ศูนย์การศึกษาพิเศษสามารถพิจารณาให้ยืมเงินรายได้สถานศึกษาเพื่อทดรองจ่ายเกี่ยวกับเงินสวัสดิการของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดได้เฉพาะในส่วนที่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณมาชดเชยเงินรายได้สถานศึกษาได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตรเป็นต้น
5. กรณีสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล มีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ให้ขอความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานการเงิน การบัญชี การพัสดุวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยอนุโลมสำหรับการรายงานเงินรายได้ของสถานศึกษา ให้ดำเนินการดังนี้
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคลให้รายงานการรับ-จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบทุกสิ้นปีการศึกษา(เอกสารดังแนบ)เมื่อปิดบัญชีประจำปีแล้ว ให้ส่งงบการเงินไปให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณการมอบอำนาจเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบอำนาจการอนุมัติการจ่ายเงิน การอนุมัติการจ่ายเงินยืมการก่อหนี้ผูกพัน การสั่งซื้อสั่งจ้าง และการดำเนินการทั้งปวงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ครั้งละไม่เกิน 10 ล้านบาท
2) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งละไม่เกิน 12 ล้านบาท
3) ผู้อำนวยการสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งละไม่เกิน 12 ล้านบาท
4) ผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งละไม่เกิน 15 ล้านบาท
5) ที่ปรึกษาที่รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งละไม่เกิน 20 ล้านบาท
6) รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งละไม่เกิน 25 ล้านบาท
7) นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตาม ข้อ 1) - ข้อ 6) ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ เป็นไปตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 161/2549 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับรายได้สถานศึกษา สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549เอกสารอ้างอิง
1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินรายได้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล พ.ศ.2546
2. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรรเป็น
ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2547
3. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถาน
ศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
4. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้
สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
5. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0414/ว 7509 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2549 เรื่อง การทบทวนเพิ่มวงเงินราย
ได้สถานศึกษาเก็บไว้ ณ ที่ทำการ
6. คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 161/2549 เรื่อง การมอบอำนาจเกี่ยวกับเงินรายได้
สถานศึกษา สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
7. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548
8. คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 1163/2548 เรื่อง มอบอำนาจการเปลี่ยนแปลงงบ
ประมาณ สั่ง ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548

เกณฑ์และแนวปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน

สพฐ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหาร
จัดการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้
เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ค่าใช้จ่ายรายหัว)
เกณฑ์การจัดสรร มีดังนี้
1. ระดับก่อนประถม คนละ 600 บาท ต่อคน/ปี
2. ระดับประถมศึกษา คนละ 1,100 บาท ต่อคน/ปี
3. ระดับมัธยมศึกษา คนละ 1,800 บาท ต่อคน/ปี
4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คนละ 2,700 บาท ต่อคน/ปี
แนวทางการใช้เงินงบประมาณ
1. ให้สถานศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบาย
และจุดเน้นของ สพฐ.
2. เสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีของต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อผ่านความเห็นชอบ
3. รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สาธารณชนได้ทราบ
4. การใช้จ่ายงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา
ลักษณะการใช้งบประมาณ
การใช้งบประมาณเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการค่าใช้จ่ายในการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) ให้ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ในลักษณะ 3
ประเภทงบรายจ่าย ดังนี้
1.งบบุคลากร
1.1 ค่าจ้างชั่วคราว เช่น จ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ ฯลฯ
2.งบดำเนินงาน
2.1 ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น ฯลฯ
2.2 ค่าใช้สอย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าจ้างเหมาบริการ ฯลฯ
2.3 ค่าวัสดุ เช่น ค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ฯลฯ
2.4 ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
3. งบลงทุน
3.1 ค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯ
3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบดัดแปลง ต่อเติมหรือปรับปรุง ที่ดินและ
หรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บาท เช่น ค่าถมที่ดิน ถมถนน จัดทำรั้ว ฯลฯ
เงินอุดหนุนค่า ใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนยากจน)
เป็นเงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจน เพื่อจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เป็นการช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น
*นักเรียนยากจน หมายถึง นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 40,000.00 บาท ต่อปี*
เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้นักเรียนที่ยากจน ในสังกัด สพฐ. ยกเว้น สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ลักษณะการใช้งบประมาณการใช้งบประมาณเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปรายการเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน ให้ใช้ในลักษณะ ถัวจ่าย เป็นค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนักเรียน ค่าอาหารกลางวัน และค่าพาหนะในการเดินทาง

การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
สถานศึกษาสามารถเลือกวิธีดำเนินการจ่ายหรือจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
1. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน จัดซื้อแจกจ่ายให้แก่นักเรียน หรือให้ยืมใช้
2. ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน จัดซื้อหรือจัดจ้างผลิต แจกจ่ายให้แก่นักเรียน
3. ค่าอาหารกลางวัน จัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร หรือจ่ายเป็นเงินสด
ให้แก่นักเรียนโดยตรง
4. ค่าพาหนะในการเดินทาง มีแนวทางการใช้จ่าย ดังนี้
4.1 กรณี จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย
3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน
4.2 กรณี การจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน ให้ดำเนินการจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แนวทางการดำเนินงาน
ระดับสถานศึกษา
1. สำรวจข้อมูลนักเรียนยากจน และรายงาน สพท. เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
2. จัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3. ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนยากจน
4. รายงานข้อมูลผลการดำเนินการ
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. รวบรวมข้อมูลนักเรียนยากจนจากสถานศึกษา และรายงาน สพฐ.
2. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูล และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทนที่จัดการเรียนการการสอนแต่ละช่วงชั้นตามความเหมาะสม
3. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงานเงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน เป็นเงินงบประมาณที่จัดสรรเป็นค่าอาหารให้แก่สถานศึกษาที่ได้ดำเนินการจัดที่พัก ให้แก่นักเรียนเกณฑ์การจัดสรร จัดสรรให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สถานศึกษาจัดที่พักให้
ลักษณะการใช้งบประมาณ ใช้เป็นค่าอาหาร สำหรับนักเรียนประจำพักนอน
การใช้จ่ายงบประมาณ
1. ให้สถานศึกษาจ่ายหรือจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนประจำพักนอน โดยสามารถเลือกวิธีดำเนินการ
ได้ ดังนี้
1.1 จัดซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร โดยให้ดำเนินการตามระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.2 จ่ายเป็นเงินสดให้กับนักเรียน โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน
ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
2. หากมีเงินงบประมาณคงเหลือ สามารถนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารให้
แก่นักเรียนได้
แนวทางการดำเนินงาน
มีลักษณะเช่นเดียวกับ เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน)โครงการจ่ายเงินอุดหนุน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) ให้โรงเรียนโดยตรง
สพฐ. มีนโยบายที่จะให้โรงเรียนที่ได้รับเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)
ได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน และโรงเรียนสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างคล่องตัว
ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ทำโครงการจ่ายเงินอุดหนุน (รายหัว)
ให้กับโรงเรียนโดยตรง ซึ่งได้คัดเลือก สพท. เพื่อนำร่องโครงการดังกล่าว รวม 14 เขต ประกอบด้วย ชลบุรี
เขต 1-3 นนทบุรี เขต 1-2 พัทลุง มหาสารคาม เขต 1-2 ลำปาง เขต 1-3 และ กทม. เขต 1-3 รวม 1,998
โรงเรียน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 และขณะนี้ สพฐ. ได้โอนเงินให้กับโรง
เรียนเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 706,829,100 บาท สำหรับ สพท. ที่มิได้นำร่อง สพฐ. จะโอนเงินงบ
ประมาณไปตั้งจ่าย ณ สพท. และให้ สพท. เบิกจ่ายเงินให้กับโรงเรียนต่อไป และในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2549 สพฐ. จะดำเนินการโอนเงินอุดหนุน (รายหัว) ให้กับโรงเรียนในสังกัดทุกโรง ดังนั้น จึงขอให้ สพท.
จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวกับรายชื่อโรงเรียน จำนวนนักเรียน ชื่อธนาคาร ชื่อบัญชีธนาคาร และเลขที่บัญชีธนาคารว้ให้ถูกต้องและครบถ้วน


หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะการเดินทางไปราชการ ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
1.1 การเดินทางไปราชการชั่วคราว
1.2 การเดินทางไปราชการประจำ
1.3 การเดินทางกลับภูมิลำเนา
2. การเดินทางไปต่างประเทศ
1.1 การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
2.2 การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ
ในที่นี้ขอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราช
อาณาจักร
การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. การไปปฏิบัติราชการชั่วคราว นอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่ง
ผู้บังคับบัญชาหรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการปกติ
2. การไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
3. การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่งหรือไปรักษาราชการแทน
4. การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการ
ประจำต่างประเทศ
5. การเดินทางข้ามแดนชั่วคราวเพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตาม
ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักร ได้แก่
1. ข้าราชการ
2. ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย

สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
1. ต้องได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ โดยผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติระยะเวลา
ในการเดินทางไปราชการตามความจำเป็นและเหมาะสม
2. ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทาง ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการแล้ว
3. ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงขึ้น ภายหลังวันที่ได้เดินทางไปราชการแล้ว ให้มีสิทธิที่จะรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับที่สูงขึ้นนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวแม้คำสั่งนั้นจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงหรือก่อนวันออกเดินทางก็ตาม
4. ข้าราชการซึ่งเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งที่สูงขึ้นให้ได้รับาใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนรวมทั้งการเดินทางกลับมาดำรงตำแหน่งเดิมให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในกรณีเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งระดับที่ต่ำกว่าให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราสำหรับตำแหน่งระดับที่ตนดำรงอยู่
5. การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีเหตุอันควรไม่มีสิทธิได้รับค่า
ใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับระยะเวลาที่หยุดนั้นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักรเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบอำนาจการอนุมัติการเดินทางไปราชการให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 6/2546 สั่ง ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546

ผู้เดินทาง การไปราชการ ผู้อนุมัติ
1. ข้าราชการ ลูกจ้างในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. ข้าราชการ ลูกจ้างในสถานศึกษา - ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
3. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
อนุมัติตนเองแล้วรายงานให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบในเวลาอันควรหรือเดือนละหนึ่งครั้ง
4. ผู้อำนวยการสถานศึกษา - ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
อนุมัติตนเองแล้วรายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบในเวลาอันควรหรือเดือนละหนึ่งครั้ง
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2. ค่าเช่าที่พัก
3. ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ
ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม
4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่าย เนื่องในการเดินทางไปราชการ เช่นค่าปะยาง ค่าผ่านทาง
ด่วน
1. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
เบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลัง
กำหนด
1.1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบิกได้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยกำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงไว้ 2
ประเภท คือ ประเภท ก และ ประเภท ข
(หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.4/ว 103 ลงวันที่ 28 กันยายน 2544)
บาท : วัน
ข้าราชการ ประเภท ก. ประเภท ข.
ระดับ 1-2 120 72
ระดับ 3-8 180 108
ระดับ 9 ขึ้นไป 240 144
หมายเหตุ ประเภท ก ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
2. การเดินทางไปราชการจากอำเภอหนึ่งไปอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกันประเภท ข ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการระหว่างอำเภอในจังหวัดเดียวกันเว้นแต่อำเภอเมือง
2. การเดินทางไปราชการจากอำเภอเมืองไปอำเภออื่นๆ ในจังหวัดเดียวกัน
3. การเดินทางไปราชการในเขตอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงาน ซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
4. การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานปฏิบัติราชการปกติ
1.2 เงื่อนไขการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
1.2.1 การเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกันให้เบิก
เบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย
1.2.2 ในกรณีผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อการรักษาพยาบาลให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ไม่เกิน 10 วัน และต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ
1.3 การนับเวลาเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่ หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี ดังนี้
1.3.1 การเดินทางที่มีการพักแรมให้นับ 24 ชั่วโมง เป็น 1 วัน กรณีไม่ถึง 24 ชั่วโมงหรือเกิน 24 ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชั่วโมง ถ้านับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน
1.3.2 การเดินทางที่มิได้มีการพักแรม หากนับเวลาได้ไม่ถึง 24 ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน หากนับได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมง ขึ้นไปให้นับเป็นครึ่งวัน
กรณีมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่
ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานเพราะมีเหตุส่วนตัว ให้นับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยง ดังนี้
(ก) ลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการ
(ข) ลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการมีสิทธิเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ
2. การเบิกค่าเช่าที่พัก
การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ภายในวง
เงินและเงื่อนไข ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2.1 กระทรวงการคลังกำหนดอัตราค่าเช่าที่พักตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุดที่ กค 0409.6/ว 164 ลงวันที่ 31 ต.ค.2548 แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2548 ควบคุมการเบิกจ่ายค่าที่พักในการเดินทางไปราชการดังนี้
ข้าราชการ หนังสือกระทรวงการคลัง
ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 164
ลงวันที่ 31 ต.ค.2548
มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย
ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/1303
ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548
ระดับ 8 ลงมา -เหมาจ่ายไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน - พักเดี่ยวคนละไม่เกิน 1,000 บาท
ต่อวัน
- กรณีเดินทางเป็นคณะให้พักคู่คนละไม่เกิน 600 บาทต่อวัน
ระดับ 9 -เหมาจ่ายไม่เกิน 2,200 บาทต่อวัน - เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน
ระดับ 10ขึ้นไป -เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,500 บาทต่อวัน
- เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,000 บาทต่อวัน

หมายเหตุ การพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่ทางราชการจัดไว้ให้แล้ว เบิกค่าเช่าที่พักไม่ได้
2.2 เงื่อนไขการเบิกค่าเช่าที่พัก
2.2.1 การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการที่ไม่สะดวกในการเดินทางไป กลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้ไม่เกิน 120 วัน
นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย
2.2.2 กรณีผู้เดินทางเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาลให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับ
วันที่พักนั้นได้แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 วันกรณีผู้เดินทางเจ็บป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาลให้งดเบิกค่าเช่าที่พักเว้นแต่กรณีจำเป็นการเจ็บป่วยตามข้อ 2.2.2 ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ
3. การเบิกค่าพาหนะ
การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงโดย
ประหยัด และไม่เกินสิทธิที่พึ่งได้รับตามประเภทของยานพาหนะที่ใช้เดินทางยานพาหนะประจำทางได้แก่
1. รถไฟ
2. รถโดยสารประจำทาง
3. ยานพาหนะอื่นใดที่ถือเป็นยานพาหนะประจำทางต้องเข้าหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังนี้
3.1 ให้บริการขนส่งแก่บุคคลทั่วไปเป็นประจำ
3.2 มีเส้นทางแน่นอน
3.3 มีอัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่แน่นอน
(ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทาง พ.ศ.2533)
1. หลักเกณฑ์การเบิกค่ารถไฟ
ข้าราชการ รถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน/ด่วนพิเศษ
ระดับ 1-2 - ชั้น 3 - ชั้น 3/ ชั้น 3 นั่งปรับอากาศ
- ชั้น 3 (ถ้าไม่มีชั้น 3 ให้นั่งชั้น 2 ธรรมดาได้)
ระดับ 3ขึ้นไป - ชั้น 2 - ชั้น 2 นั่งธรรมดา/นั่ง
ปรับอากาศ/นั่งนอนธรรมดา
- ชั้น 2 นั่งธรรมดา/นั่งปรับอากาศ/นั่งนอนธรรมดา
ระดับ 5ขึ้นไป - - ชั้น 2 นั่งนอนปรับอากาศ
- ชั้น 2 นั่งนอนปรับอากาศ
ระดับ 7ขึ้นไป - - - ชั้น 1 นั่งนอนปรับอากาศ
2. หลักเกณฑ์การเบิกค่ารถโดยสารประจำทาง
ประเภทรถ ผู้มีสิทธิเบิก
- รถโดยสารประจำทางธรรมดา
- รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2
- รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 มาตราฐาน1(ข)
ข้าราชการทุกระดับ
- รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 ชนิดไม่เกิน 24 ที่นั่ง
มาตราฐาน1(ก)
ระดับ 5 ขึ้นไป
กรณีไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการให้ใช้
ยานพาหนะอื่นได้แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในรายงานการเดินทาง หรือหลัก
ฐานการขอเบิกยานพาหนะนั้น
การเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะรับจ้าง
สิทธิในการเบิกค่าพาหนะรับจ้าง
1. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่าให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีดัง
ต่อไปนี้
(ก) การเดินทาง ไป-กลับ ระหว่าง ที่อยู่ ที่พักหรือสถานที่ปฏิบัติราชการ กับ สถานียาน
พาหนะประจำทางหรือกับสถานที่จัดยานพาหนะ ที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ
ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน ถ้าการเดินทางดังกล่าวเป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัดให้เบิกค่าพาหนะรับ
จ้างได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
(ข) การเดินทาง ไป-กลับ ระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับ สถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกิน 2 เที่ยว
(ค) การเดินทางไปราชการในเขต กทม.
2. ข้าราชการระดับ 5 ลงมา เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ต้องมีสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของ
เครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทาง ให้
เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้
3. การเดินทางไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือกจะเบิกค่าพาหนะรับจ้าง ไป-กลับระหว่างสถาน
ที่อยู่ ที่พัก กับ สถานที่ปฏิบัติราชการ ภายในเขตจังหวัดเดียวกันไม่ได้
ในกรณีผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทาง
กลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา 8/1 ให้เบิก
ค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีเดินทางนอกเส้นทางใน
ระหว่างการลาให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทาง
ไปราชการ


อัตราการเบิกค่ายานพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด
กระทรวงการคลังได้กำหนดอัตราการเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัดตามหนังสือกระทรวง
การคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 127ลงวันที่ 9 กันยายน 2548 แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2548 ดังนี้
ค่าพาหนะรับจ้าง หนังสือกระทรวงการคลัง
ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 127ลงวันที่ 9 กันยายน 2548
มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/1303 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548
1. เดินทางข้ามเขตจังหวัด
ระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดที่มีเขตติดต่อกรุงเทพฯ ผู้เดินทางเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินเที่ยวละไม่เกิน
2. เดินทางข้ามเขตจังหวัดอื่นๆ
นอกเหนือจากข้อ 1 ผู้เดินทางเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินเที่ยวละไม่เกิน
400 บาท
300 บาท
300 บาท
200 บาท
การเดินทางไปราชการโดยใช้ยานพาหนะส่วนตัวยานพาหนะส่วนตัว หมายความว่า รถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลซึ่งมิใช่ของทางราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เดินทางไปราชการหรือไม่เงินชดเชยหมายความว่า เงินพาหนะที่เหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ยานพาหนะส่วน
ตัวเดินทางไปราชการการเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะส่วนตัวผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีสิทธิเบิกเงินชดเชยได้ตามอัตราดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท
- รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 1 บาท
การคำนวณระยะทางให้คำนวณตามระยะทางของกรมทางหลวงในระยะสั้นและตรงซึ่งสามารถเดิน
ทางได้โดยสะดวกในกรณีที่มีคำพิพากษาให้ทางราชการต้องรับผิดหรือร่วมรับผิดในค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากอุบัติเหตุเพราะการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในราชการ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบ
ครองหรือผู้ขับจะต้องเข้ามาเป็นผู้ชดใช้แทนหรือชดใช้คืนทางราชการแล้วแต่กรณี(ระเบียบระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
การเดินทางไปราชการโดยใช้เครื่องบิน
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมีหลัก

เกณฑ์ ในการโดยสารเครื่องบิน ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเดินทางโดยเครื่องบินต้องดำรงตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป
2. ผู้เดินทางนอกจากข้อ 1 ให้เดินทางได้เฉพาะกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
3. การเดินทางไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ให้เบิกได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทาง
ภาคพื้นดินในระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรการประหยัดงบประมาณราย
จ่าย พ.ศ. 2548 ในการเดินทางโดยเครื่องบิน ดังนี้
ข้าราชการ
มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่ายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ4002/1303 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548
ระดับ 7
ระดับ 8 ขึ้นไป
เดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost)เดินทางโดยเครื่องบินได้
4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการมีองค์ประกอบดังนี้
1. เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย หากไม่จ่ายไม่อาจเดินทางถึงจุดหมายแต่ละช่วงที่เดินทางไป
ปฏิบัติราชการได้เช่น ค่าปะยาง ค่าผ่านทางด่วน เป็นต้น
2. ต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับหรือหนังสือสั่งการของ
กระทรวงการคลังกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ค่าครุภัณฑ์ ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับหรือหนังสือสั่งการเหล่านั้น
3. ต้องไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเนื้องานที่ไปปฏิบัติราชการ เช่น ค่าซื้อฟิล์มถ่ายรูป (ที่ใช้ในงาน
สำรวจข้อมูลตามหน้าที่ราชการของตน) เป็นต้น
(หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502/ ว 32 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2537)
หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ มีดังนี้
1. บันทึกขออนุมัติเดินทางไปราชการหรืออนุมัติเปลี่ยนแปลง (ถ้ามี) ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ
2. สัญญายืมเงิน
3. ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (แบบ 8708 )
4. ใบเสร็จรับเงินของโรงแรมที่พักและใบแจ้งรายการของโรงแรม (folio) เฉพาะข้าราชการ
ระดับ 10 ขึ้นไปให้แนบหลักฐานด้วย เนื่องจากข้าราชการดังกล่าวมีการเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริง
5. ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
6. ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ บก111.)
7. หลักฐานการจ่ายเงินอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางด่วนพิเศษ

ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
1. ผู้มีอำนาจอนุมัติไม่ระบุวัน......เดือน.......ปี.......ที่อนุมัติ
2. ผู้เดินทางไปราชการเขียนแบบใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ครบถ้วน สมบูรณ์
และถูกต้อง โดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้
- ตามคำสั่ง/บันทึกที่........ลงวันที่.......
- ระบุการรวมเวลาไปราชการ จำนวน........วัน.........ชั่วโมงไม่ถูกต้อง
- การคำนวณวัน เวลา ในการคำนวณเบี้ยเลี้ยงไม่ถูกต้อง
- ชื่อพนักงานขับรถยนต์ และทะเบียนรถยนต์ไม่ตรงกับใบอนุมัติการเดินทาง
3. หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะหลักฐานต่อไปนี้
- ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงระบุทะเบียนรถยนต์ไม่ตรงกับที่ขออนุมัติไว้
วัน....เดือน...ปี....ในใบเสร็จรับเงินมีรอยลบ ขีด ฆ่า หรือมีการแก้ไขโดยไม่ให้ผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน
ลงชื่อกำกับ หรือไม่ได้ใส่จำนวนเงินเป็นตัวอักษร เป็นต้น
หมายเหตุ กรณีเป็นลูกจ้างประจำมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ โดยการเทียบตำแหน่งลูกจ้างประจำว่าตำแหน่งลูกจ้างรายนั้นอยู่ใน
หมวดใด เพื่อเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนว่าอยู่ในระดับใดเพื่อใช้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป
ราชการได้ถูกต้อง

การเทียบตำแหน่งลูกจ้างประจำในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ดังนี้
1. หมวดแรงงาน หมวดกึ่งฝีมือ เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 1
เช่น นักการภารโรง ยาม คนงาน เป็นต้น
2. หมวดฝีมือ หมวดฝีมือพิเศษระดับต้น เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 2
เช่น พนักงานขับรถยนต์ ครูสอนดนตรี เป็นต้น
3. หมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง เช่น ครูชั้น 3 เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3
หมวดฝีมือพิเศษระดับสูง เช่น ครูชั้น 4 เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3
หมวดฝีมือพิเศษเฉพาะ (ไม่มี) เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3
(หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0502/ว150 ลงวันที่ 28 กันยายน 2535)
ยกเว้น ลูกจ้างซึ่งเคยมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เทียบเท่าข้าราชการระดับ 3
อยู่ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2535 ให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเทียบเท่าข้าราชการระดับ 3
ต่อไป(หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0502/ว32 ลงวันที่ 5 เมษายน 2536)

ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน

การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน)
นิยาม
งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน) คือ เงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษา
ที่ได้ดำเนินการจัดที่พักให้แก่นักเรียน ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ไม่สะดวก ห่างไกล กันดาร ไว้สำหรับพักอาศัย
ทั้งที่จัดในและนอกสถานศึกษา โดยสถานศึกษาได้ดำเนินการควบคุมดูแล และจัดระบบแบบเต็มเวลา
เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้แก่นักเรียนที่มีถิ่นที่อยู่ ไม่สะดวก ห่างไกลกันดาร ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อการเดิน
ทางไป - กลับระหว่างถิ่นที่อยู่กับสถานศึกษา จำเป็นต้องพักอาศัยในสถานที่ที่สถานศึกษาจัดให้
หรือที่อื่นที่สถานศึกษาสามารถดำเนินการควบคุมดูแลได้ในระดับชั้น ป.1 – ม.3 ยกเว้น
1. นักเรียนในสถานศึกษาทั่วไปแบบประจำ ได้แก่
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนประชามงคล
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดน่าย ฯลฯ
2. นักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ
3. สถานศึกษาที่ได้ดำเนินการจัดหอพักในสถานศึกษาและได้เรียกเก็บเงินค่าอาหาร
นักเรียนประจำพักนอนทุกคนแล้ว กรณีที่ได้เรียกเก็บเงินไม่ครบทุกคน สามารถจัดสรร
ให้ได้เฉพาะจำนวนนักเรียนส่วนที่เหลือ และต้องเป็นนักเรียนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนด
ลักษณะการใช้งบประมาณ
ใช้เป็น ค่าอาหาร นักเรียนประจำพักนอน
การใช้จ่ายงบประมาณ
1. ให้สถานศึกษาจ่ายหรือจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนประจำพักนอน โดยสามารถเลือกวิธีดำเนินการได้ ดังนี้
1.1 จัดซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร โดยให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.2 จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียน โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
2. หากมีเงินงบประมาณคงเหลือ สามารถนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนได้

แนวทางการดำเนินงาน
1. ระดับสถานศึกษา
1.1 สำรวจข้อมูลจากโครงการนักเรียนประจำพักนอนและรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
1.2 จัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
1.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนประจำพักนอน
1.4 รายงานผลการดำเนินงาน
2. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.1 รวบรวมข้อมูลนักเรียนประจำพักนอนจากสถานศึกษาและรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูล และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ หรือผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาที่มีนักเรียนพักนอนตามความเหมาะสม
2.3 กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน

เงินอุดหนุน
เงินอุดหนุน คือ เงินงบประมาณหมวดหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. เงินอุดหนุนทั่วไป
2. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
สพฐ. ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง ให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
ซึ่งแยกเป็น 3 รายการ ดังนี้
1. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)
2. เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน
3. เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน นักเรียนยากจน
ในปีงบประมาณ 2549 สพฐ. ได้จัดสรรงบเงินอุดหนุนให้กับ โรงเรียน 2 รายการ คือ
1. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว
2. เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน นักเรียนยากจน

เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน

การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน)
นิยาม
งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน) คือ เงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจน เพื่อจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เป็นการช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
นักเรียนยากจน หมายถึง นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ ต่อครัวเรือนไม่เกิน 40,000 บาท ต่อปี
เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้นักเรียนที่ยากจนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ลักษณะการใช้งบประมาณ
ให้ใช้ในลักษณะแบบ ถัวจ่าย ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนักเรียน ค่าอาหารกลางวัน และค่าพาหนะในการเดินทาง
การใช้จ่ายงบประมาณ
สถานศึกษาสามารถเลือกวิธีดำเนินการ จ่ายหรือจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
1. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน
จัดซื้อแจกจ่ายให้แก่นักเรียน หรือให้ยืมใช้
2. ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน
จัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตแจกจ่ายให้แก่นักเรียน
3. ค่าอาหารกลางวัน
จัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร หรือจ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง
4. ค่าพาหนะในการเดินทาง
จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง หรือจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน
กรณีการดำเนินการจัดซื้อ – จัดจ้าง – จัดหา ต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรณี จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย
3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน

แนวทางการดำเนินงาน
1. ระดับสถานศึกษา
1.1 สำรวจข้อมูลนักเรียนยากจน และรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
1.2 จัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
1.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนยากจน
1.4 รายงานผลการดำเนินงาน
2. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.1 รวบรวมข้อมูลนักเรียนยากจนจากสถานศึกษา และรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูล และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ หรือผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาหรือ
ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนแต่ละช่วงชั้นตามความเหมาะสม
2.3 กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงาน

การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป

การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป

รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)
หลักการ
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 3 มาตรา 43 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 หมวด 2 มาตรา 10 ได้บัญญัติไว้ว่า “ การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และหมวด 8 มาตรา 60 ได้บัญญัติไว้ว่า ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศโดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณเพื่อการศึกษา ดังนี้ (1) จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกัน” จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องดำเนินการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อบัญญัติดังกล่าว

วัตถุประสงค์
งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) จัดสรรให้สถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545

แนวทางการใช้งบประมาณ
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้มากที่สุด จึงกำหนดแนวปฏิบัติดังนี้
1. ให้สถานศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษาผ่านความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สาธารณชนได้รับทราบ
4. การใช้จ่ายงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา
ลักษณะการใช้งบประมาณ
การใช้งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ในลักษณะ 3 ประเภทงบรายจ่าย ดังนี้
1. งบบุคลากร
1.1 ค่าจ้างชั่วคราว เช่น จ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ ฯลฯ
2. งบดำเนินงาน
2.1 ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทน วิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น ฯลฯ
2.2 ค่าใช้สอย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าจ้างซ่อมแซม ค่าจ้างเหมาบริการ
ค่าพาหนะพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
2.3 ค่าวัสดุ เช่น ค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ค่าวัสดุเวชภัณฑ์ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน ฯลฯ
2.4 ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
3. งบลงทุน
3.1 ค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บาท เช่น ค่าจัดสวน ค่าถมดิน ถนน รั้ว สะพาน บ่อน้ำ ฯลฯ
ทั้งนี้ กรณี งบลงทุนและงบดำเนินงาน สามารถดำเนินการได้เพิ่มเติมตามหนังสือของสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร 0702 / ว 51 ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 เรื่อง หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ

รายได้รายจ่ายของรัฐ

รายได้รายจ่ายของรัฐ
ในการบริหารประเทศของแต่ละประเทศ รัฐบาลมีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ซึ่งต้องใช้เงินและมีหน้าที่หารายรับมาเพื่อใช้จ่ายภายในประเทศ การใช้จ่ายของรัฐจำเป็นจะต้องทำอย่างรอบคอบมีหลักเกณฑ์และมีความสมดุลย์ หรือไม่ทำให้ขาดดุลกับรายรับที่พึงจะได้ การหารายได้ของรัฐมีความสัมพันธ์กับรายจ่ายคือ รายได้กำหนดรายจ่าย
รายได้ของรัฐบาล
ไพศาล ชัยมงคล ให้ความหมายของคำว่ารายรับ (Receipt) หมายถึง "รายได้" (Revenue) กับ "เงินกู้" (Borrowing หรือ Loan) และเงินคงคลัง (Treasury Balance) แต่ส่วนใหญ่ของรายรับนั้นได้มาจากรายได้ และได้จำแนกรายได้ของรัฐบาลออกเป็น 4 ทาง คือ
1. รายได้จากภาษีอากร ประกอบด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล ภาษีการค้า อากรแสตมป์ ภาษีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อากรขาออก อากรขาเข้า ภาษีลักษณะการอนุญาตและการผูกขาด ภาษีจากทรัพย์สิน
2. รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ ได้แก่ค่าขายทรัพย์สินสิ่งของค่าขายผลิต
ภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าจำหน่ายบริการสาธารณูปโภค ค่าขายหนังสือราชการค่าขายสิ่งของอื่น ๆ ค่าบริการและค่าเช่าเป็นต้น
3. รายได้จากรัฐพาณิชย์ ได้แก่รายได้จากองค์การของรัฐบาลและหน่วยงานธุรกิจที่
รัฐบาลเป็นเจ้าของเงินส่วนแบ่งและเงินปันผล
4. รายได้อื่น ๆ ได้แก่เงินค่าปรับ เงินส่งคืนและชดใช้ ตลอดจนรายได้เบ็ดเตล็ด
เทเลอร์ (Taylor) ได้จำแนกรายได้ออกเป็น
1. รายรับที่ไม่เป็นรายได้
2. รายรับที่เป็นรายได้
รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่รายได้จากการกู้ยืม ซึ่งเป็นรายได้ที่รัฐมีภาระผูกพันต้องใช้
คืนในอนาคต
รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่รายได้จากการอุทิศให้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตค่าปรับ รายได้จากรัฐวิสาหกิจและจากการจัดเก็บภาษีอากร
รายได้เหล่านี้รัฐบาลจะนำไปจัดสรรให้หน่วยงานของราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหมด เรียกเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินงบประมาณประจำปี จัดทำเป็นประจำทุกปี
รายจ่ายของรัฐบาล
ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วว่ารัฐบาลของทุกประเทศมีหน้าที่จัดดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เงินเพื่อจะทำให้ประชาชนมีความสุข มีความเป็นอยู่ดี รัฐบาลรับผิดชอบในการป้องกันประเทศและภัยอันอาจจะเกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มีหน้าที่จัดหาบริการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่นจัดการศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคม และการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินหลายทางสุดแท้แต่วัตถุประสงค์ของการใช้จ่าย บางอย่างใช้จ่ายเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น รายจ่ายในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นอยู่ดี
จากสถิติรายจ่ายของรัฐบาลจะเห็นว่า รายจ่ายได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะเนื่องจากประเทศเรากำลังพัฒนาและเนื่องจากการเพิ่มของประชากร และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชน ตลอดจนการสงคราม มีส่วนทำให้รายจ่ายของรัฐเพิ่มขึ้นด้วย
แหล่งของเงินที่ใช้เพื่อการศึกษา
เงินงบประมาณหรือเงินที่ใช้จ่ายในด้านการศึกษาของประเทศนั้น มิได้มีเฉพาะแต่งบประมาณของรัฐบาล เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้มาจากเอกชนด้วย ในปีหนึ่ง ๆ ได้มีเอกชน บริษัท ห้างร้าน องค์การและมูลนิธิต่าง ๆ บริจาคให้แก่สถานศึกษาไม่ใช่น้อยซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถนำไปใช้จ่ายภายในระเบียบข้อบังคับโดยมิต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินเหมือนรายได้ประเภทอื่น ๆ
เงินที่ใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลมีที่มา 3 ทาง คือ
1. เงินงบประมาณแผ่นดิน
2. เงินนอกงบประมาณ
3. เงินรายได้แผ่นดิน
สำหรับเงินรายได้แผ่นดินนั้น ส่วนมากเมื่อได้มาแล้วจะต้องนำส่งคลังทันที จึงไม่ค่อย
จะมีผู้กล่าวถึงและในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินนอกงบประมาณเท่านั้น

ขอบข่ายเกี่ยวกับงานการเงินโรงเรียน

ขอบข่ายเกี่ยวกับงานการเงินโรงเรียน
งานเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งผู้บริหารการศึกษา พึงกระทำมีพอสรุปดังนี้
1. การจ่ายเงินเดือน ( Salary Principle ) ผู้บริหารจะต้องจัดการเกี่ยวกับการวางแผน
อัตรากำลังของครูอาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ของโรงเรียน
2. การใช้จ่ายทางด้านอื่น ๆ (Purchasing) ของโรงเรียน ได้แก่การจัดการเกี่ยวกับ
การใช้จ่ายทางด้านการบริหารอาหารกลางวันนักเรียน การจัดการเกี่ยวกับการบริการห้องสมุด
3. การตรวจสอบบัญชีจ่ายเงินภายใน (Internal Auditing of Expenditure) ได้แก่การ
ตั้งกรรมการตรวจสอบ การวางระเบียบกฎเกณฑ์การจ่ายเงินตลอดจนการกำหนดระบบการตรวจสอบ เป็นต้น
4. การรายงานการเงิน (Preparation of Financial Report) ในการบริหารงาน
โรงเรียนนั้นย่อมมีหน่วยงานเหนือขึ้นไปตามลำดับ ในประเทศไทยมีหน่วยงานควบคุมอยู่หลายหน่วย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ผู้บริหารงานโรงเรียนต้องรายงานหน่วยงานที่เหนือขึ้นไป
5. บัญชีการเงินของโรงเรียน(Financial Accounting) เพื่อสะดวกในการควบคุมและ
ตรวจสอบการบริหารการเงินโรงเรียน จึงจำเป็นต้องมีระบบบัญชีการเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน เพื่อป้องกันการรั่วไหล และการใช้เงินที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ซึ่งหัวหน้าสถานศึกษาจะต้องทำตามระบบบัญชีที่หน่วยงานที่เหนือขึ้นไปกำหนด

การจัดบุคลาการการเงิน

การจัดบุคลาการการเงิน
บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการเงิน จะมาจากสายงานฝ่ายธุรการซึ่งควบคุมโดย
ผู้บริหารบุคลากรการเงินอีกทีหนึ่ง ปริมาณบุคลากรการเงิน จะแตกต่างกันไปตามขนาดของโรงเรียน โดยปกติแล้วมักนิยมจัดเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 คน ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายจะเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ พนักงานบัญชี และพนักงานเบิกจ่าย เป็นต้น สำหรับโรงเรียนเล็ก ๆ การจัดทำการเงินนั้น ส่วนมากจะมีคนเดียว แต่ต้องมีกรรมการเงินครบ 3 คน ตามระเบียบดังผังการบริหารการเงินดังนี้
ผู้บริหาร


หัวหน้าฝ่ายธุรการ


เจ้าหน้าที่งบประมาณ หัวหน้าฝ่ายบัญชี เจ้าหน้าที่เบิกจ่ายเงิน



หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในเรื่องเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ก็คือ ควบคุมสั่งการ และตรวจสอบ
ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง เสนอปัญหาหรือรับคำปรึกษาจากผู้บริหาร สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน และควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่และผู้ร่วมงานปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ
เจ้าหน้าที่บัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชีทุกประเภทให้ถูกต้องตามระเบียบ เสนอผู้บริหาร ตรวจสอบได้ทุกเวลา
เจ้าหน้าที่งบประมาณ มีหน้าที่จัดทำ และเสนอของบประมาณ โดยอยู่ในความดูแลขอคำปรึกษาหารือจากผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ หรือครูใหญ่
เจ้าหน้าที่เบิกจ่ายเงิน มีหน้าที่ทำการเบิกเงิน จ่ายเงินทุกอย่างของโรงเรียนทั้งนี้อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ และครูใหญ่เช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตามโรงเรียนระดับต่ำ เช่นโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนมากไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใหญ่หรือเล็ก มักจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางการเงินขึ้นครบ 3 คน ตามระเบียบ แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการจะทำหน้าที่ทั้งหมด เช่น ทำบัญชี ทำการเบิกจ่าย และทำงบประมาณ สำหรับ โรงเรียนเล็กจริง ๆ ปริมาณนักเรียนและครูมีน้อย หน้าที่การเงินทั้งหมดจะเป็นหน้าที่ครูใหญ่คนเดียว ไม่จำเป็นต้องตั้งเจ้าหน้าที่การเงินฝ่ายต่าง ๆ เพราะปริมาณงานมีน้อย
หลักในการบริหารการเงินโรงเรียน
ในการบริหารการเงินโรงเรียนนั้น ย่อมต้องอาศัยหลักการมากมายเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหาร หลักการบริหารการเงินโรงเรียนที่ผู้บริหารทุกระดับจะต้องคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้
1. หลักสารัตถประโยชน์ (Utility Principle ) ในการบริหารการเงินโรงเรียนนั้น จะต้อง
คำนึงถึงการใช้เงินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศที่ยากจน มีงบประมาณในการจัดการศึกษาอยู่ในขอบเขตอันจำกัด ดังนั้นการใช้จ่ายเงินต่าง ๆ ควรเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด
2. หลักแห่งเอกภาพ (Unity Principle ) ใน การบริหารงานการคลังทั่วไปนิยมการ
แยกรายการต่าง ๆ ออกจากกันและรวมกันไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ให้เป็นเอกภาพ เช่นเป็นหมวดรายจ่าย หมวดรายรับ หมวดหนี้สิน เป็นต้น นอกจากนี้เอกสารและบัญชีต่าง ๆ มักจะแยกประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
3. หลักแห่งความสมดุลย์ (Balance Principle ) เนื่องจากหน้าที่รับผิดชอบของรัฐนั้นมี
มากมาย ดังนั้นการทุ่มเงินส่วนใหญ่มาใช้ทางการศึกษา โดยไม่สมดุลย์กับรายจ่ายด้านอื่น ๆ ย่อมไม่เกิดผลดีอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจะต้องพิจารณาในแง่ของประเทศโดยส่วนรวมด้วย
4. หลักความเป็นธรรม (Equity Principle ) ในการพิจารณาจัดสรรเงินใช้ในโรงเรียน
ควรพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตามหลักการแห่งเหตุผลอันแท้จริง มิควรพิจารณาจัดสรรเงินตามความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก
5. หลักแห่งความชัดเจน แจ่มแจ้ง (Clarity Principle ) ในการจัดการเกี่ยวกับการเงิน
ของโรงเรียนจะต้องทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจทุกอย่าง เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน เช่น เกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่ การปฏิบัติ การจัดรายการ จำนวนเงินที่ใช้จ่ายหรือได้มาเป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสะดวกในการพิจารณาการกำหนดแยกรายการเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจง่าย และการคำนวณตัวเลขให้แน่นอนเป็นการสนับสนุนหลักการนี้เช่นเดียวกัน
6. หลักจารีตประเพณีนิยม (Conservative Principle ) ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน
นั้น เรามักจะประพฤติปฏิบัติไปในทำนองเดียวกัน และสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติ
7. หลักสมานฉันท์ ( Harmony Principle ) การบริหารงานคลังจะต้องคำนึงถึงการ
ขจัดข้อแย้งระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับการคลังของโรงเรียนจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกคน และไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน และพยายามก่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย
8. หลักความถูกต้องกับความเป็นจริง (Accuracy Principle ) ในการบริหารการเงิน
โรงเรียน จะต้องมีลักษณะเปิดเผย สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ทุกเวลาและทุกรายการ
9. หลักการกำหนดเวลา ( Annuality Principle ) ในการบริหารงานคลังโรงเรียนจำ
เป็นต้องกำหนดเวลาไว้ให้แน่นอน เพื่อสะดวกในการติดตามและประเมินผลโดยทั่วไปจะกำหนดไว้เป็นหนึ่งปี โดยให้สอดคล้องกับปีงบประมาณ
10. หลักการคาดการณ์ล่วงหน้า (Foresight Principle ) ในการบริหารการเงินผู้บริหาร
จะต้องรู้จักคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง เพื่อความรอบคอบในการปฏิบัติงาน
11. หลักความมีลักษณะเฉพาะอย่าง (Specification Principle ) การปฏิบัติงานใน
หน่วยงานการเงินควรแบ่งงานรับผิดชอบระหว่างบุคลากรในหน่วยงานให้แน่นอนและเฉพาะบุคคลไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน เช่น แยกฝ่ายปฏิบัติการกับฝ่ายตรวจสอบออกจากกัน เป็นต้น การให้ผู้รับผิดชอบงานเฉพาะอย่างนั้นเป็นการทำให้คนได้ทำงานเฉพาะอย่าง ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนในการปฏิบัติงาน ป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้
12. หลักการประหยัด (Economy Principle ) การใช้เงินทุกอย่างของโรงเรียนการเป็น
ไปโดยความประหยัด พิจารณาถึงความจำเป็นในการดำเนินการงานใดที่ต้องใช้เงินมากและเป็นงานที่ไม่จำเป็น และไม่เป็นประโยชน์ ควรตัดรายการนั้นทิ้งไป
นอกจากหลักการบริหารการเงินโรงเรียนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ฮันต์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารการเงินดังนี้
1. การวางแผนการเงิน ควรวางแผนไว้เป็นระยะยาวที่สุด และแบ่งกระบวนการปฏิบัติ
การเป็นช่วง ๆ ไป ทั้งนี้ต้องคอยตรวจสอบและปรับปรุงให้เข้างกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
2. ควรมีการสนับสนุนให้ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาส
ร่วมในการกำหนดแผนงานการศึกษาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. งบประมาณของโรงเรียน ควรจะพิจารณาตามแผนงานของการศึกษาของโรงเรียน
ในระยะ 5 ปี หรือ 1 ปี (ถ้าเป็นไปได้) ไม่ควรกำหนดเพียงแต่พิจารณาเพื่อการใช้จ่ายโดยปราศจากการวางแผนเท่านั้น และเงินของโรงเรียนควรจะเพิ่ม (หรือลด) ตามความต้องการทางการศึกษาของชุมชน
4. โรงเรียน ควรมีอิสระอย่างเพียงพอในการตัดสินใจ และไม่ให้มีข้อผูกมัดใดมาเกี่ยว
ข้องกับ การบริหารการเงินโรงเรียน
5. การบริหารการเงินโรงเรียน ควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาทางการศึกษามากกว่าที่จะมุ่งแข่งขันซึ่งกันและกัน

หน้าที่ผู้บริหาร

ผู้บริหารมีหน้าที่ในการบริหารการเงินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์หน้าที่เกี่ยวกับการเงินพอสรุปได้ดังนี้
ก. งานเกี่ยวกับการเงิน
- ทำการรับเงินค่าธรรมเนียม
- รับเงินบริจาค
- รับเงินผลประโยชน์อื่น ๆ
- รับเงินทุนการศึกษา ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อจ่ายเป็นทุนอุดหนุนการศึกษา
- รับฝากเงินรายได้ของหน่วยงานในสังกัด
- รับฝากเงินค่าประกันของเสียหาย และเงินประกันสัญญา
- จ่ายเงินงบประมาณทุกหมวด
- จ่ายเงินรายได้ สำหรับการดำเนินงานของหน่วยงาน
- จ่ายเงินบริจาคเพื่อกิจการของหน่วยงาน
- จ่ายเงินอุดหนุนการศึกษา
- จ่ายคืนเงินฝาก
- ทำฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณทุกหมวด และเงินนอกงบประมาณ
- ตรวจสอบใบสำคัญและหลักฐานรับ - จ่ายเงินทุกประเภท
- คำนวณ และเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อแจ้งและส่งสรรพากร
- ดูแลรักษา เงินสดให้ถูกต้อง เพื่อส่งมอบกรรมการรักษาเงิน
- จัดเตรียมใบเสร็จรับเงิน เมื่อรับเงินประเภทต่าง ๆ
- เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
- เบิกเงินและนำเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์
- เก็บหลักฐานการเงิน
- จัดทำหลักฐานจ่ายเงินเดือนและลูกจ้าง
- ทำใบส่งเงิน กระทรวงการคลัง
ข. งานเกี่ยวกับบัญชี
- จัดทำบัญชีการเงินประเภทต่าง ๆ ตามหลักบัญชีส่วนราชการ ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
- ทำบัญชีลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการ และเงินยืมนอกงบประมาณ
- ลงทะเบียนรายจ่ายย่อยตามงบประมาณ
- ลงทะเบียนรายจ่ายเงินรับฝากต่าง ๆ
- จัดทำรายงานการเงินทุกประเภท
- จัดทำงบเดือนเงินงบประมาณทุกหมวด
- จัดทำงบเดือนรายได้ของหน่วยงาน
- จัดทำทะเบียนการชำระเงินค่าบำรุงของนิสิต
- ดำเนินการรวบรวมรายละเอียด ตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของหน่วยงาน
- รวบรวมรายละเอียดเสนอตั้งงบประมาณประจำปี
- ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณสำหรับหน่วยงาน
- ดำเนินการจัดสรรเงินไปตั้งจ่ายทางจังหวัดสำหรับหน่วยงานในสังกัด
- ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ
- ดำเนินการขอโอน เปลี่ยนแปลงหมวดเงินงบประมาณ เมื่อจำเป็น
- ดำเนินการขออนุมัติกันเงิน ตัดฝาก ขยายเวลาตัดฝาก เงินงบประมาณ
- ดำเนินการ ขออนุมัติจัดซื้อ จ้างทำ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ
- ดำเนินการ จัดทำสัญญาซื้อขาย จ้างทำวัสดุครุภัณฑ์ ตลอดจนสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
ค. งานเกี่ยวกับพัสดุครุภัณฑ์
- ดำเนินการ จัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน
- ดูแลรักษา ซ่อมแซม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน
- ดูแลรักษาซ่อมแซมยานพาหนะ
- ดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ
- จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์
- จัดทำบัญชีพัสดุ
- เขียนหมายเลขประจำครุภัณฑ์
- จ่ายพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
- เก็บรักษาทะเบียนยานพาหนะ
- สำรวจวัสดุครุภัณฑ์คงเหลือ
- จัดทำรายงานการสำรวจทรัพย์สิน
- จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี

ง. งานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
- ตรวจนับเงินสดคงเหลือประจำวันที่ทำการตรวจสอบ
- ตรวจหลักฐานการรับเงิน
- ตรวจหลักฐานและใบสำคัญการจ่ายเงิน
- ตรวจสอบการลงบัญชีต่าง ๆ
- ตรวจสอบทะเบียนต่าง ๆ
- ตรวจสอบบัญชีพัสดุครุภัณฑ์
- ตรวจสอบหลักฐานการฝากเงินกับธนาคาร
- รายงานการตรวจสอบและเสนอแนะวิธีการแก้ไข
ในการปฏิบัติ อาจจะมีเปลี่ยนแปลงแนวการจัดงานต่างไปจากข้างต้นที่กล่าวมาบ้างทั้งนี้แล้วแต่ผู้บริหารที่จะพิจารณาตามขนาด และงานที่ต้องปฏิบัติ

การบริหารการเงินของโรงเรียน

การบริหารการเงินของโรงเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก ได้กล่าวว่า เนื่องจากการบริหารการเงินหรือการบริหารการคลังโรงเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญอันหนึ่งในการบริหารการศึกษา หลักการบริหารการคลังโรงเรียน มีลักษณะไม่ห่างไกลจากการบริหารการคลังในสาขาอื่น เพียงแต่ขอบเตและวัตถุประสงค์ในการบริหารแตกต่างกันเท่านั้น
ความหมาย
สำหรับความหมายของการบริหารการคลังโรงเรียนนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายจำแนกแตกต่างกันออกไปดังนี้
ฮันท์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ได้กล่าวถึงเรื่องการคลังโรงเรียนไว้ว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง แผนการเงินของโรงเรียน การพัฒนาฐานภาพทางการเงินของโรงเรียน รายจ่ายของโรงเรียน หลักและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ หน่วยงานหรือแหล่งของรายรับของโรงเรียน การตรวจสอบการเงิน และการอุดหนุนทางการเงินแก่โรงเรียน ส่วนคิมบรอก และนันเนอร์ (Kimbrough & Nunnery) กล่าวว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง การหาวิธีจะให้ไดมาซึ่งรายได้และเพิ่มรายได้ของโรงเรียนให้สูงขึ้น การจัดสรรเงินเพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน โดยพยายามจัดสรรเงินที่ได้มาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการทางด้านการเงินของ หน่วยงานย่อย เช่น ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรพิจารณาความต้องการทาง ด้านการเงิน โรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในสังกัดอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับผู้บริหารการศึกษาระดับโรงเรียนจะต้องพิจารณาความต้องการทางการเงิน ของหน่วยงานย่อยของโรงเรียนและโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน อย่างเหมาะสมด้วย หาวิธีใช้จ่ายเงินของโรงเรียนและทรัพยากรอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนให้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนของภาระเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อรายได้และรายจ่ายของโรงเรียน
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การบริหารการเงินของโรงเรียนหมายถึงการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนการจัดการเกี่ยวกับการใช้จ่ายลอดจนการควบคุมการดำเนินงานทางด้านการเงินให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ในการบริหารการเงินโรงเรียนมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคบางอยบ่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายของการเมืองและรัฐบาล เป็นต้อน อย่างไรก็ตามขอบข่ายในการบริหารการเงินโรงเรียนควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. การวางแผนการเงินของโรงเรียน มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและ
ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนที่มีต่อการให้ได้มาหรือการจ่ายไปซึ่งการเงินของโรงเรียน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น
1.การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงเรียนโดยส่วนรวม เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นต้น
2.การควบคุมการดำเนินงานทาง ด้านการเงิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน
3..การจัดการเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการทเศรษฐศาสตร์ หลักการทางการบริหารและรวมทั้งหลักการคลังทั่วไป
การบริหารงานมีความสำคัญต่อผู้บริหารมาเนื่องจากผลของการปฏิบัติงานกระทบกระเทือนทั้งต่อหน่วยงานและประเทศชาติ หน่วยงานจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินว่าดีหรือไม่เพียงใด หากผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินของหน่วยงานของตนและหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ผลก็จะทำให้หน่วยงานพัฒนาและได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารงานที่มีความสามารถ
หน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องใช้เงินในการดำเนินงานและพัฒนาตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการเงินของโรงเรียนเป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษา แนวปฏิบัติในการบริหารการเงินในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย งานการรับเงิน, การจ่ายเงิน, การเก็บรักษาเงิน, การนำส่ง, การซื้อ, การจ้าง, บัญชีพัสดุ, การตรวจสอบและรายงานการเงินเป็นต้น
การเงินที่ผู้บริหารการศึกษาควรทราบเพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติตามระเบียบของราชการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของทางราชการ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมืองและบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติและหลักการที่ผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลางยึดถือตามแนวที่ตนคิดว่าดีหรือควรปฏิบัติ
ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรจะทำหน้าที่หาเงินหรือจัดตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษาด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงใช้เงินอย่างผู้บริหารระดับโรงเรียนส่วนมากทำอยู่เพียงอย่างเดียว
ความไม่ทราบทฤษฎีการเงินโรงเรียนทำให้ผู้บริหารการศึกษาในประเทศไทยจัดสรรงบประมาณและการเงินให้แก่โรงเรียนตามความพอใจของส่วนบุคคลและตามวิธีทางการเมืองตลอดมาทุกยุคทุกสมัย จะเห็นได้ว่าสภาพโรงเรียนปัจจุบันนี้โรงเรียนที่ดีอยู่แล้วกลับได้งบประมาณมากขึ้นทุกปี แต่โรงเรียนที่ขาดแคลนก็ยิ่งขาดแคลนลง เพราะการให้เงินงบประมาณมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่ได้รับเดิม จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการได้รับงบประมาณของโรงเรียนมีสภาพเป็นโรงเรียนที่ต้องการเงินมากกลับได้น้อยโรงเรียนที่ต้องการเงินน้อยกลับได้มาก

บทเฉพาะกาล

บทเฉพาะกาล
-----------
ข้อ ๓๗ บรรดาหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณที่ได้กำหนดไว้แล้วก่อนการประกาศใช้ระเบียบนี้ ให้คงใช้ปฏิบัติต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้จนกว่าจะได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วงบประมาณรายจ่ายรายการใดที่ได้ดำ เนินการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และอยู่ในระหว่างดำ เนินการยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำ เนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้อยู่เดิมจนกว่าจะดำ เนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำ เนินการตามระเบียบนี้ได้

การรายงานผล ลักษณะ ๔

ลักษณะ ๔
การรายงานผล
------------
ข้อ ๓๕ เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผล ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดให้มี
ระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ และให้จัดทำ รายงาน ดังนี้
(๑) รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ตามเกณฑ์การวัดของตัวชี้วัด
ผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ หรือตามที่ได้ตกลงกับสำ นักงบประมาณ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผน
การใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งระบุปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
สำ นักงบประมาณกำหนด และจัดส่งด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเมื่อสิ้นระยะเวลาในแต่ละไตร
มาสภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส
(๒) รายงานประจำ ปีที่แสดงถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการให้บริการกระทรวง โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนส่ง สำ นักงบประมาณภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณนอกเหนือจากส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง ขอให้หน่วยงานในกำ กับของรัฐ องค์การมหาชน
และรัฐวิสาหกิจรายงานทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำ นักงบประมาณกำหนดด้วยกรณีส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดส่งรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันควร ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจแสดงเหตุผลความจำ เป็นต่อผู้อำ นวยการสำนักงบประมาณ
ข้อ ๓๖ สำ นักงบประมาณจะรายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐ
วิสาหกิจไม่ปฏิบัติการหรือไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบ
ประมาณนอกจากนี้ สำ นักงบประมาณจะรายงานผลการติดตามผลและการประเมินผลการดำ เนินงาน
ต่อคณะรัฐมนตรี และจะใช้ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามวรรคหนึ่งประกอบ
การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไปด้วย

การใช้รายจ่ายงบกลาง หมวด ๒

หมวด ๒
การใช้รายจ่ายงบกลาง
-------------
ข้อ ๓๓ ยกเว้นในกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๔ ให้นำ ความในลักษณะ ๑ และลักษณะ ๒
หมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔ มาใช้บังคับกับการใช้รายจ่าย และการโอนและหรือเปลี่ยนแปลง
รายการงบประมาณรายจ่ายงบกลางโดยอนุโลม
ข้อ ๓๔ งบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการใดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้รับการจัด
สรร และได้นำ ไปใช้จ่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายผลผลิต โครงการ หรือรายการ และหรือ
จากการจัดซื้อจัดจ้าง ตามที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางแล้ว มีเงินเหลือจ่ายให้
นำ ส่งคืนคลัง เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำ เป็นจะต้องนำ ไปใช้จ่ายในรายการอื่นๆ ให้ขอ ทำ ความ
ตกลงกับสำ นักงบประมาณก่อน

การบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง หมวด ๑

ลักษณะ ๓
การบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง

หมวด ๑
การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
-------------
ข้อ ๒๙ สำ นักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางให้กรมบัญชีกลาง ตามวง
เงินที่ระบุในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
เพิ่มเติม เพื่อส่วนราชการต่างๆ ขอเบิกจ่ายกับกรมบัญชีกลางได้ตามจำนวนที่ต้องจ่ายจริง สำ หรับ
งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการดังต่อไปนี้
(๑) เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
(๒) เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ
(๓) เงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ
(๔) เงินสำ รอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ
(๕) เงินสมทบของลูกจ้างประจำ
(๖) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ
(๗) ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ
ทั้งนี้ รายการตาม (๑) (๒) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้เบิกจ่ายโดยตรง ส่วนรายการตาม
(๓) ให้โอนไปตั้งจ่ายในงบบุคลากรประเภทเงินเดือน และค่าจ้างประจำ ของแผนงบประมาณ ผล
ผลิตหรือโครงการใดๆ ในงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการแล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๐ ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดมีความจำ เป็นต้องใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางราย
การใด นอกจากรายการตามข้อ ๒๙ ให้ทำ ความตกลงกับสำ นักงบประมาณ โดยให้แสดงรายละเอียด
งบประมาณรายจ่ายงบกลางที่จะขอนำ ไปใช้ในแผนงบประมาณ ผลผลิต โครงการ หรือรายการใด
จะเบิกจ่ายในงบรายจ่ายใด เป็นจำนวนเท่าใด และหรือจะนำ ไปใช้ในการสนับสนุนเป้าหมายการให้
บริการกระทรวงเป้าหมายใด หรือแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการใด รวมทั้งให้แสดงแผนการใช้
จ่ายเงินงบกลางดังกล่าวเป็นรายเดือนอย่างชัดเจน และให้ชี้แจงเหตุผลความจำ เป็นในการขอใช้งบ
ประมาณรายจ่ายงบกลาง หรือแสดงรายละเอียดอื่นใดตามที่สำ นักงบประมาณกำหนด พร้อมกับระบุ
สำ นักเบิกที่จะเบิกจ่าย
ข้อ ๓๑ ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจที่ขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางตามข้อ ๓๐ รับผิดชอบดำ เนินการตามความที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่งอย่างเคร่งครัดด้วย
ข้อ ๓๒ เมื่อสำ นักงบประมาณได้ให้ความตกลงในการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการ
ใดแล้ว จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการนั้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่สำ นักเบิกที่
ขอรับการจัดสรรงบประมาณการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางตามวรรคหนึ่ง สำ นักงบประมาณจะจัดทำ เป็นหนังสือและจัดส่งข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และให้ถือว่าวันที่ได้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นวันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง

หมวด ๔

หมวด ๔
การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย
------------
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีความจำ เป็นต้องโอนหรือเปลี่ยนแปลงราย
การงบประมาณรายจ่าย ให้ดำ เนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำ เนินการ เพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ พัฒนาบุคลากร พัฒนาเทคโนโลยี หรือสนับสนุน การบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด รวมทั้งจะต้องแสดงเหตุผลความจำ เป็นหรือความเหมาะสมได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน ความประหยัด ความคุ้มค่า ความโปร่งใสรวมทั้งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการกระทรวง และเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติด้วยการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ทำ ให้เป้าหมายผลผลิตหรือโครงการตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลงในสาระ
สำ คัญ และต้องไม่ทำ ให้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำ ระเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
ข้อ ๒๔ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในงบรายจ่ายใดๆ ภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน เพื่อจัดทำ ผลผลิตหรือโครงการตามเป้าหมายที่ระบุในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือเพื่อเพิ่มเติมเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการเดิมดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการกระทรวง หรือเป้าหมายตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการกำ หนดอัตราบุคลากรตั้งใหม่ รายการค่าที่ดิน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศที่ไม่ได้กำ หนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง และในกรณีที่เป็นการโอนเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างจะต้องมีวงเงินต่อหน่วยตํ่ากว่าหนึ่งล้านบาทและตํ่ากว่าสิบล้านบาทตามลำดับสำ นักงบประมาณอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อกำหนดขอบเขตหรือข้อจำกัดการโอนและหรือการเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ตามความจำ เป็น
ข้อ ๒๕ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำ นาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงราย
การงบประมาณรายจ่ายที่เหลือจ่ายในแผนงบประมาณเดียวกันจากการดำ เนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
และเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการ ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือจาก การจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ไปใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ยกเว้นเป็นรายการค่าที่ดิน หรือรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ และหากมีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำ ระ หรือค่าใช้จ่ายที่จำ เป็นต้องจ่ายตามข้อผูกพันสัญญาค้างชำ ระ ให้โอนไปชำ ระเป็นลำ ดับแรกก่อนตามลำ ดับสำ นักงบประมาณอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อกำหนดขอบเขตหรือข้อจำ กัดการใช้งบประมาณเหลือจ่ายตามวรรคหนึ่งได้ตามความจำ เป็น
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้รับการจัดสรรงบประมาณสำ หรับรายการครุ
ภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณในงบรายจ่ายของผลผลิตหรือโครงการใด แต่ไม่อาจจัดหาได้ด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายในงบรายจ่ายต่างๆ ภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน หรือนำ เงินนอกงบประมาณไปเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างนั้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณกรณีรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่อาจจัดหาได้นั้น เป็นรายการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยมีเงินนอกงบประมาณสมทบอยู่แล้ว ให้ใช้เงินนอกงบประมาณไปเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินรายการนั้น แต่หากเงินนอกงบประมาณมีไม่เพียงพอและจะใช้เงินงบประมาณรายจ่ายไปเพิ่มให้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินในส่วนที่เป็นงบประมาณรายจ่ายรายการนั้น
รายการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า รายการที่ระบุไว้ในการจัดสรรงบประมาณ เว้นแต่ในกรณีที่ได้รวมรายการครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างหลายหน่วยไว้ในรายการเดียวกันให้ถือว่าครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างหนึ่งหน่วยเป็นหนึ่งรายการ และคำ ว่า “หน่วย” หมายความว่าหน่วยที่สามารถนับได้
ข้อ ๒๗ การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ทำ ความตกลงกับสำ นักงบประมาณ
ข้อ ๒๘ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้อำ นาจ
ตามที่ได้รับมอบสั่งโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณตาม
ระเบียบนี้แล้ว ให้จัดทำ และส่งรายงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐโดยไม่ชักช้าตามแบบราย
งานที่สำ นักงบประมาณกำหนด แต่อย่างช้าต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่โอนและหรือเปลี่ยนแปลง
รายการงบประมาณรายจ่าย

หมวด ๓

หมวด ๓
การใช้รายจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย
-------------
ข้อ ๒๑ การใช้รายจ่ายที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลง
รายการงบประมาณรายจ่ายในแต่ละงบรายจ่ายของแต่ละผลผลิตหรือโครงการภายใต้แผนงบ
ประมาณ หรือแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการเดียวกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) งบบุคลากร ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่สำ นักงบประมาณกำ หนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้ถัวจ่ายกันได้
(๒) งบดำ เนินงาน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำ หนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้
ถัวจ่ายกันได้ เว้นแต่รายจ่ายประเภทค่าสาธารณูปโภคให้นำ ไปใช้จ่ายในประเภทอื่นภายในงบรายจ่ายนี้ได้ หากไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ
(๓) งบลงทุน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ ตามรายการและวงเงินที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณด้วย

(๔) งบเงินอุดหนุน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ ดังนี้
ก. ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป ให้ใช้จ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณหรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย
ข. ประเภทเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ให้ใช้จ่ายตามรายการ จำนวนเงินและรายละเอียดอื่นใดที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้นำ ความใน (๑) (๒) และ (๓) มาบังคับใช้โดยอนุโลม
(๕) งบรายจ่ายอื่น ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำ หนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้
เบิกจ่ายตามรายการและจำ นวนเงินที่กำ หนดในการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยน
แปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้นำ ความใน (๑) (๒) และ (๓) มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ยกเว้นในกรณีที่กำ หนดไว้ในข้อ ๑๕ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายค่าใช้
จ่ายในลักษณะค่าใช้จ่ายบุคลากร ลักษณะค่าใช้จ่ายดำ เนินงานเฉพาะในส่วนที่จำ เป็นต้องจ่ายตามข้อ
ผูกพันสัญญาหรือข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายตามกฎหมาย และรายจ่ายรายการกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จากกรมบัญชีกลางได้ก่อนได้รับความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

หมวด ๒

หมวด ๒
การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
------------
ข้อ ๑๔ สำ นักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเต็มตามจำนวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายสำ หรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี โดยจะระบุงบประมาณรายจ่ายในแต่ละแผนงบประมาณ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่าย และรายการในงบรายจ่ายไว้ที่สำนักเบิกส่วนกลาง เว้นแต่งบประมาณรายจ่ายสำ หรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค จะระบุสำ นักเบิกไว้ที่สำ นักเบิกส่วนภูมิภาคตามที่ตั้งของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นการจัดสรรงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประกาศใช้บังคับแล้ว และให้ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังจากวันประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ให้มีผลตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณหรือวันที่กำหนดเป็นวันเริ่มต้นการบังคับใช้กฎหมายแล้วแต่กรณี ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ให้ดำ เนินการตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณก่อน
ข้อ ๑๕ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำ นักงบประมาณแล้ว ในการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน และขอเบิกจ่ายงบ
ประมาณรายจ่าย
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดส่งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้
จ่ายงบประมาณ สำ นักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ตามข้อ ๑๔ แต่หากไม่จัดส่งแผนดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราช
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณีกำหนดให้เป็นวันเริ่มต้นบังคับใช้ สำ นักงบประมาณ
จะรายงานการไม่ส่งแผนดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี
ข้อ ๑๗ การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ การสำรวจ ออกแบบรูปรายการ
ก่อสร้างโดยละเอียด การกำหนดจำนวนเนื้อที่ของที่ดิน สถานที่ตั้ง และราคา ตลอดจนการดำ เนิน
การจัดหา ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจรับผิดชอบควบคุมดูแลให้การจัดหาครุภัณฑ์
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเป็นไปตามความจำ เป็น เหมาะสม อย่างโปร่งใส คุ้มค่าและประหยัด รวมทั้งเป็น
ไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานของทางราชการอย่าง
เคร่งครัดให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจแก้ไขรายละเอียดของรายการงบประมาณราย
จ่ายที่ระบุในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบ
ประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ได้ในส่วนที่ไม่กระทบต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในสาระสำ คัญ
ของรายการดังกล่าว
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีความจำ เป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียด
รายการในการจัดหาครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างในงบลงทุน งบเงินอุดหนุนหรืองบรายจ่ายอื่นแล้ว
แต่กรณีที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วโดยไม่เพิ่ม
วงเงินงบประมาณรายจ่าย ให้กระทำ ได้โดยไม่ต้องทำ ความตกลงกับสำ นักงบประมาณ
ข้อ ๑๙ การจัดสรรงบประมาณของแผนงบประมาณที่มีโครงการเงินกู้จากต่างประเทศรวม
อยู่ด้วย และมีกรณีต้องใช้เงินกู้จากต่างประเทศสมทบกับเงินบาท ให้ระบุจำนวนเงินของแต่ละงบ
รายจ่ายที่ขอใช้เงินทดรองราชการ และระบุสำ นักเบิกไว้ที่สำ นักเบิกส่วนกลาง
ข้อ ๒๐ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำ เนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของ
แผนงบประมาณ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่าย และ
รายการในงบรายจ่าย ที่ต้องดำ เนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นงบบุคลากรประเภทเงินเดือนและ
ค่าจ้างประจำ ไปยังสำ นักเบิกส่วนภูมิภาคนั้นๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบ
ประมาณที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบ
ประมาณการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายไปยังสำ นักเบิกส่วนภูมิภาคใดตามวรรคหนึ่ง จะต้อง
พิจารณาโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้สามารถดำ เนินงานได้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติ
งานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนั้น โดยให้จัดทำ และรับส่งข้อมูล
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ตามแบบรายงานที่สำ นักงบประมาณกำหนด

หมวด ๑

หมวด ๑
การจัดทำ และการปรับปรุง
แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
------------
ข้อ ๑๑ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบ
ประมาณส่งให้สำ นักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่า
สิบห้าวัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำ นักงบประมาณกำ หนดการจัดทำ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เป็นงบประมาณรายจ่ายตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ร่วมอยู่ในแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการจัดทำ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกันเพื่อให้สามารถดำ เนินงานและใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำ หนดไว้ในแผนดังกล่าวยกเว้นในกรณีที่กำ หนดไว้ในข้อ ๒๘ หากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีความจำ เป็นต้องมีการปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในวรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำ ให้เป้าหมายผลผลิตหรือโครงการเปลี่ยนแปลงไปจากที่สำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว ให้จัดส่งแผนดังกล่าวให้สำ นักงบประมาณให้ความเห็นชอบก่อน และในกรณีที่ต้องมีการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามข้อ ๒๗ ด้วย ก็ให้ดำ เนินการขอทำ ความตกลงกับสำ นักงบประมาณไปพร้อมกันข้อ ๑๒ การจัดทำ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อ ๑๑ วรรคหนึ่งให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำ ตามผลผลิตหรือโครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการกระทรวง แผนงบประมาณ หรือแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ระบุไว้ในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำ ระบบข้อมูลการดำ เนินงานตามผลผลิตหรือ
โครงการ พร้อมกับกำหนดค่าหรือเกณฑ์การวัดของตัวชี้วัดผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ หรือที่ได้ตกลง
กับสำ นักงบประมาณ เพื่อใช้ในการรายงานผลตามข้อ ๓๕







ลักษณะ ๑

ลักษณะ ๑
บททั่วไป
-----------
ข้อ ๕ การใช้งบประมาณรายจ่ายตามระเบียบนี้ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะต้องใช้จ่าย
ตามรายการงบประมาณรายจ่ายสำ หรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ระบุในเอกสารประกอบพระราช
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่ได้รับการจัด
สรรจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รวมถึงที่ระบุในแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้บรรลุวัตถุ
ประสงค์และเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในแผนงบประมาณ และหรือแผนงบ
ประมาณใน เชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีความจำ เป็นต้องโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายให้ดำ เนินการตามความที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ หมวด ๔
ข้อ ๖ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจรับผิดชอบในการจัดเตรียมความพร้อม
ของกิจกรรมต่างๆ ที่จำ เป็นต่อการดำ เนินการตามแผนงบประมาณ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ผลผลิต โครงการ หรือรายการตามความที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๗ เพื่อให้สามารถดำ เนินการจัดทำ ผลผลิต โครงการหรือรายการได้ทันทีที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจรับผิดชอบต่อการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับมอบอำ นาจตามระเบียบนี้อย่างเคร่งครัดยกเว้นในกรณีที่กำ หนดไว้ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง หัวหน้าส่วนราชการจะมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มิใช่การโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายระหว่างจังหวัด ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ทั้งนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวให้ทำ เป็นหนังสือและส่งสำ เนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้สำ นักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำ นักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มอบอำนาจ

ข้อ ๗ รายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายรายการใด จะกำหนดให้เบิกจ่ายในประเภท
งบรายจ่ายใด ให้เป็นไปตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณที่สำ นักงบประมาณ
กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจคำนวณค่าใช้จ่ายตามงบรายจ่ายในวรรคหนึ่ง
ของแต่ละผลผลิตหรือโครงการ เพื่อใช้ในการจัดทำ ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตหรือโครงการสำ หรับ
การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป
ข้อ ๘ สำ นักงบประมาณอาจกำหนดหลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงบ
ประมาณตามระเบียบนี้ หรือนอกเหนือจากระเบียบนี้ได้ตามความเหมาะสมและจำ เป็น รวมทั้งการ
กำ หนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับการบริหารราชการ
แบบบูรณาการของคณะผู้แทนไทยในต่างประเทศ การบริหารราชการแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด การบริหารงบประมาณที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐลักษณะพิเศษเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย สำ นักงบประมาณอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่ต้องยื่นคำ ขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับงบประมาณรายจ่ายรายการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ข้อ ๙ การให้ความเห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต หรือการรายงานแล้วแต่กรณี ในการจัดทำ แผน
การปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบ
ประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การใช้รายจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย การโอนการจัดสรรงบ
ประมาณรายจ่าย การโอนงบประมาณรายจ่าย การเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย การจัด
สรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง การใช้รายจ่ายงบกลาง และการรายงานผล หรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยว
ข้องกับการจัดการงบประมาณ ให้จัดทำ และรับส่งข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐการจัดทำ และรับส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวันที่ได้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้วเป็นวันที่ได้รับความเห็นชอบ ได้รับอนุมัติ ได้รับอนุญาต ได้รายงานผล หรือได้จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี เว้นแต่หน่วยงานที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐให้ใช้สำ เนาเอกสารกระดาษที่จัดพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานหรือด้วยวิธีการอื่นใดตามที่สำ นักงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดพิมพ์ข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำ และรับส่งข้อมูลโดยถูกต้องแล้วเป็นสำ เนาเอกสารเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในกรณีที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ ให้ใช้สำ เนาเอกสารกระดาษที่จัดพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงแทนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทั้งนี้ กรณีที่จะถือว่าระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้นั้น จะต้องได้รับแจ้งยืนยันเป็นหนังสือจากสำ นักงานโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อ ๑๐ การปฏิบัตินอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ
การตีความในระเบียบนี้ ให้ขอทำ ความตกลงกับสำ นักงบประมาณ ลักษณะ ๒การบริหารงบประมาณรายจ่ายสำ หรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ

ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๘

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารงบประมาณ ให้สอดคล้องกับระบบและวิธีการจัดการงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ด้วยการจัดสรรงบประมาณให้กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า รวมทั้งมอบอำ นาจและความรับผิดชอบให้หน่วยปฏิบัติสามารถบริหารงบประมาณได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัวสูง ให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานตามแผนงบประมาณ และแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการที่กำ หนดไว้ โดยมีการจัดทำ ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย แผนการปฏิบัติงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การรายงานผล และสอดรับกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส สามารถตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะได้อาศัยอำ นาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ผู้อำ นวยการสำ นักงบประมาณจึงกำ หนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
๑. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
๓. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๗ บรรดาข้อบังคับ หรือระเบียบอื่นใดในส่วนที่กำ หนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายตามพระราช
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
“การจัดสรรงบประมาณ” หมายความว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายตามพระราช
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน ทั้งนี้ อาจดำ เนินการโดยใช้การอนุมัติเงินประจำ งวดหรือโดยวิธีการอื่นใดตามที่สำ นักงบประมาณกำ หนด
“เป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ” หมายความว่า ผลสัมฤทธิ์ที่รัฐบาลต้องการจะให้เกิดต่อประชาชนและประเทศ
“เป้าหมายการให้บริการกระทรวง” หมายความว่า เป้าหมายการให้บริการกระทรวงตาม
เอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณราย
จ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำ หนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ
“แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด” หมายความว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
ตามที่จังหวัดกำ หนดขึ้นโดยสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและเป้าหมายยุทธศาสตร์
ระดับชาติ
“แผนงบประมาณ” หมายความว่า แผนงบประมาณที่กำ หนดไว้ในพระราชบัญญัติงบ
ประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำ หนดขึ้นใหม่ใน
ระหว่างปีงบประมาณ
“แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ” หมายความว่า แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการที่กำ หนดไว้ในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำ หนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ
“ผลผลิต” หมายความว่า ผลผลิตที่กำ หนดไว้ในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำ หนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ
“โครงการ” หมายความว่า โครงการที่กำ หนดไว้ในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบ
ประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำ หนดขึ้นใหม่ใน
ระหว่างปีงบประมาณ
“งบรายจ่าย” หมายความว่า กลุ่มวัตถุประสงค์ของรายจ่าย ที่กำ หนดให้จ่ายตามหลักการ
จำ แนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ
“เงินทดรองราชการ” หมายความว่า เงินทดรองราชการตามระเบียบว่าด้วยเงินทดรองราช
การเพื่อรองจ่ายตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ
“แผนการปฏิบัติงาน” หมายความว่า แผนการปฏิบัติงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใน
รอบปีงบประมาณ
“แผนการใช้จ่ายงบประมาณ” หมายความว่า แผนแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ
รายจ่ายสำ หรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเพื่อดำ เนินงานตามแผนการปฏิบัติงานในรอบปีงบ
ประมาณ
“สำ นักเบิกส่วนกลาง” หมายความว่า กรมบัญชีกลาง
“สำ นักเบิกส่วนภูมิภาค” หมายความว่า สำ นักงานคลังจังหวัด สำ นักงานคลังจังหวัด ณ
อำ เภอ และสำ นักงานคลังอำ เภอด้วย
“การโอนงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการ
จัดสรรงบประมาณของผลผลิตหรือโครงการใดไปผลผลิตหรือโครงการอื่นภายในงบรายจ่ายเดียว
กัน หรือการโอนเงินต่างงบรายจ่ายในผลผลิตหรือโครงการเดียวกันภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน
“การเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงรายการและหรือ
จำนวนเงินของรายการที่กำหนดไว้ภายใต้งบรายจ่ายของแผนงบประมาณ ผลผลิตหรือโครงการเดียวกัน
“การโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
จากสำ นักเบิกส่วนกลางไปยังสำ นักเบิกส่วนภูมิภาคใด หรือจากสำ นักเบิกส่วนภูมิภาคใดไปยังสำ นัก
เบิกส่วนภูมิภาคอื่น โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
“รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ” หมายความว่า รายการงบประมาณรายจ่ายที่
กำหนดให้ต้องจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเกินหนึ่งปีงบประมาณขึ้นไปในขณะที่ได้ก่อหนี้ผูกพัน
“ระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ” หมายความว่า ระบบการจัดทำ และรับส่งข้อมูลการจัดการงบ
ประมาณตามระบบการบริหารการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่น
ใดตามที่สำ นักงบประมาณกำหนด

การบริหารงบประมาณ

การบริหารงบประมาณ
ความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และ (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ )
มาตรา ๓๙ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้าน วิชาการ งบประมาณ การบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๐
๑. ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหาร ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี

หลักการและแนวคิด
๑. ยึดหลักความเสมอภาคทางโอกาสการศึกษาของผู้เรียนในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรัฐจัดสรรเงินอุดหนุน เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับสถานศึกษาของรัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกันและจัดสรรเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนที่มีลักษณะพิเศษตามความจำเป็น
๒. มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการจัดการงบประมาณโดยให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีความอิสระควบคู่กับความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้จากผลสำเร็จของงานและทรัพยากรที่ใช้
๓. ยึดหลักการกระจายอำนาจของการบริหารจัดการงบประมาณโดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นวงเงินรวมแก่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
๔. มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการด้านการเงินทั้ง ๗ ด้าน คือ
๔.๑ การวางแผนงบประมาณ
๔.๒ การคำนวณต้นทุนผลผลิต
๔.๓ การจัดหาระบบการจัดหาพัสดุ
๔.๔ การบริหารทางการเงินการควบคุมงบประมาณ
๔.๕ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
๔.๖ การบริหารสินทรัพย์
๔.๗ การตรวจสอบภายใน

การจัดทำแผนงบประมาณ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การจัดทำแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning)
๑. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติและของสพฐ.และสพท. จัดทำเป็นแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือแผนกลยุทธ์ ๓-๕ ปี ครอบคลุมการพัฒนาด้านผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการและชุมชน
๒. จัดวางทิศทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าประสงค์ ของโรงเรียน
๓. กำหนดประเด็นกลยุทธ์ของสถานศึกษา แนวทางปฏิบัติตามกลยุทธ์และแนวทางการควบคุมเชิงกลยุทธ์
๔. เสนอขอความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา สถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง
๑. นำประเด็นกลยุทธ์จากแผนพัฒนาการศึกษากำหนดเป็นเป้าความสำเร็จและตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จโดยมีกิจกรรมความสำคัญ(โครงการ) พร้อมเป้าหมายรองรับของปีปัจจุบันล่วงหน้าปีที่ ๑ ปีที่ ๒และปีที่ ๓
๒. นำต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จัดทำตามวิธีที่ สพฐ.กำหนด คูณ เป้าหมายของปีปัจจุบันและล่วงหน้าอีก ๓ ปี เพื่อกำหนดวงเงิน ค่าใช้จ่ายของแผนพัฒนาการศึกษา
๓. คำนวณรายรับที่จะได้มาซึ่งงบประมาณและเงินระดมทรัพยากรของสถานศึกษาจากการนำต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อนักเรียนตามระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย คูณ นักเรียนตามแผนชั้นเรียนทีละภาคเรียน เพื่อให้ทราบกรอบวงเงินที่ใช้ปรับค่าใช้จ่ายของแต่ละปี

การบริหารเงินอุดหนุน

การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน)
นิยาม
งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน) คือ เงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษา
ที่ได้ดำเนินการจัดที่พักให้แก่นักเรียน ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ไม่สะดวก ห่างไกล กันดาร ไว้สำหรับพักอาศัย
ทั้งที่จัดในและนอกสถานศึกษา โดยสถานศึกษาได้ดำเนินการควบคุมดูแล และจัดระบบแบบเต็มเวลา
เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้แก่นักเรียนที่มีถิ่นที่อยู่ ไม่สะดวก ห่างไกลกันดาร ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อการเดิน
ทางไป - กลับระหว่างถิ่นที่อยู่กับสถานศึกษา จำเป็นต้องพักอาศัยในสถานที่ที่สถานศึกษาจัดให้
หรือที่อื่นที่สถานศึกษาสามารถดำเนินการควบคุมดูแลได้ในระดับชั้น ป.1 – ม.3 ยกเว้น
1. นักเรียนในสถานศึกษาทั่วไปแบบประจำ ได้แก่
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนประชามงคล
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดน่าย ฯลฯ
2. นักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ
3. สถานศึกษาที่ได้ดำเนินการจัดหอพักในสถานศึกษาและได้เรียกเก็บเงินค่าอาหาร
นักเรียนประจำพักนอนทุกคนแล้ว กรณีที่ได้เรียกเก็บเงินไม่ครบทุกคน สามารถจัดสรร
ให้ได้เฉพาะจำนวนนักเรียนส่วนที่เหลือ และต้องเป็นนักเรียนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนด
ลักษณะการใช้งบประมาณ
ใช้เป็น ค่าอาหาร นักเรียนประจำพักนอน
การใช้จ่ายงบประมาณ
1. ให้สถานศึกษาจ่ายหรือจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนประจำพักนอน โดยสามารถเลือกวิธีดำเนินการได้ ดังนี้
1.1 จัดซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร โดยให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.2 จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียน โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
2. หากมีเงินงบประมาณคงเหลือ สามารถนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนได้