08 สิงหาคม, 2552

การบริหารการเงินของโรงเรียน

การบริหารการเงินของโรงเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก ได้กล่าวว่า เนื่องจากการบริหารการเงินหรือการบริหารการคลังโรงเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญอันหนึ่งในการบริหารการศึกษา หลักการบริหารการคลังโรงเรียน มีลักษณะไม่ห่างไกลจากการบริหารการคลังในสาขาอื่น เพียงแต่ขอบเตและวัตถุประสงค์ในการบริหารแตกต่างกันเท่านั้น
ความหมาย
สำหรับความหมายของการบริหารการคลังโรงเรียนนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายจำแนกแตกต่างกันออกไปดังนี้
ฮันท์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ได้กล่าวถึงเรื่องการคลังโรงเรียนไว้ว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง แผนการเงินของโรงเรียน การพัฒนาฐานภาพทางการเงินของโรงเรียน รายจ่ายของโรงเรียน หลักและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ หน่วยงานหรือแหล่งของรายรับของโรงเรียน การตรวจสอบการเงิน และการอุดหนุนทางการเงินแก่โรงเรียน ส่วนคิมบรอก และนันเนอร์ (Kimbrough & Nunnery) กล่าวว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง การหาวิธีจะให้ไดมาซึ่งรายได้และเพิ่มรายได้ของโรงเรียนให้สูงขึ้น การจัดสรรเงินเพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน โดยพยายามจัดสรรเงินที่ได้มาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการทางด้านการเงินของ หน่วยงานย่อย เช่น ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรพิจารณาความต้องการทาง ด้านการเงิน โรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในสังกัดอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับผู้บริหารการศึกษาระดับโรงเรียนจะต้องพิจารณาความต้องการทางการเงิน ของหน่วยงานย่อยของโรงเรียนและโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน อย่างเหมาะสมด้วย หาวิธีใช้จ่ายเงินของโรงเรียนและทรัพยากรอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนให้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนของภาระเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อรายได้และรายจ่ายของโรงเรียน
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การบริหารการเงินของโรงเรียนหมายถึงการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนการจัดการเกี่ยวกับการใช้จ่ายลอดจนการควบคุมการดำเนินงานทางด้านการเงินให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ในการบริหารการเงินโรงเรียนมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคบางอยบ่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายของการเมืองและรัฐบาล เป็นต้อน อย่างไรก็ตามขอบข่ายในการบริหารการเงินโรงเรียนควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. การวางแผนการเงินของโรงเรียน มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและ
ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนที่มีต่อการให้ได้มาหรือการจ่ายไปซึ่งการเงินของโรงเรียน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น
1.การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงเรียนโดยส่วนรวม เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นต้น
2.การควบคุมการดำเนินงานทาง ด้านการเงิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน
3..การจัดการเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการทเศรษฐศาสตร์ หลักการทางการบริหารและรวมทั้งหลักการคลังทั่วไป
การบริหารงานมีความสำคัญต่อผู้บริหารมาเนื่องจากผลของการปฏิบัติงานกระทบกระเทือนทั้งต่อหน่วยงานและประเทศชาติ หน่วยงานจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินว่าดีหรือไม่เพียงใด หากผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินของหน่วยงานของตนและหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ผลก็จะทำให้หน่วยงานพัฒนาและได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารงานที่มีความสามารถ
หน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องใช้เงินในการดำเนินงานและพัฒนาตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการเงินของโรงเรียนเป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษา แนวปฏิบัติในการบริหารการเงินในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย งานการรับเงิน, การจ่ายเงิน, การเก็บรักษาเงิน, การนำส่ง, การซื้อ, การจ้าง, บัญชีพัสดุ, การตรวจสอบและรายงานการเงินเป็นต้น
การเงินที่ผู้บริหารการศึกษาควรทราบเพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติตามระเบียบของราชการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของทางราชการ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมืองและบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติและหลักการที่ผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลางยึดถือตามแนวที่ตนคิดว่าดีหรือควรปฏิบัติ
ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรจะทำหน้าที่หาเงินหรือจัดตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษาด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงใช้เงินอย่างผู้บริหารระดับโรงเรียนส่วนมากทำอยู่เพียงอย่างเดียว
ความไม่ทราบทฤษฎีการเงินโรงเรียนทำให้ผู้บริหารการศึกษาในประเทศไทยจัดสรรงบประมาณและการเงินให้แก่โรงเรียนตามความพอใจของส่วนบุคคลและตามวิธีทางการเมืองตลอดมาทุกยุคทุกสมัย จะเห็นได้ว่าสภาพโรงเรียนปัจจุบันนี้โรงเรียนที่ดีอยู่แล้วกลับได้งบประมาณมากขึ้นทุกปี แต่โรงเรียนที่ขาดแคลนก็ยิ่งขาดแคลนลง เพราะการให้เงินงบประมาณมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่ได้รับเดิม จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการได้รับงบประมาณของโรงเรียนมีสภาพเป็นโรงเรียนที่ต้องการเงินมากกลับได้น้อยโรงเรียนที่ต้องการเงินน้อยกลับได้มาก

1 ความคิดเห็น:

  1. นายวีรยุทธ หยุดยั้ง ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ