08 สิงหาคม, 2552

หน้าที่ผู้บริหาร

ผู้บริหารมีหน้าที่ในการบริหารการเงินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์หน้าที่เกี่ยวกับการเงินพอสรุปได้ดังนี้
ก. งานเกี่ยวกับการเงิน
- ทำการรับเงินค่าธรรมเนียม
- รับเงินบริจาค
- รับเงินผลประโยชน์อื่น ๆ
- รับเงินทุนการศึกษา ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อจ่ายเป็นทุนอุดหนุนการศึกษา
- รับฝากเงินรายได้ของหน่วยงานในสังกัด
- รับฝากเงินค่าประกันของเสียหาย และเงินประกันสัญญา
- จ่ายเงินงบประมาณทุกหมวด
- จ่ายเงินรายได้ สำหรับการดำเนินงานของหน่วยงาน
- จ่ายเงินบริจาคเพื่อกิจการของหน่วยงาน
- จ่ายเงินอุดหนุนการศึกษา
- จ่ายคืนเงินฝาก
- ทำฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณทุกหมวด และเงินนอกงบประมาณ
- ตรวจสอบใบสำคัญและหลักฐานรับ - จ่ายเงินทุกประเภท
- คำนวณ และเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อแจ้งและส่งสรรพากร
- ดูแลรักษา เงินสดให้ถูกต้อง เพื่อส่งมอบกรรมการรักษาเงิน
- จัดเตรียมใบเสร็จรับเงิน เมื่อรับเงินประเภทต่าง ๆ
- เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
- เบิกเงินและนำเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์
- เก็บหลักฐานการเงิน
- จัดทำหลักฐานจ่ายเงินเดือนและลูกจ้าง
- ทำใบส่งเงิน กระทรวงการคลัง
ข. งานเกี่ยวกับบัญชี
- จัดทำบัญชีการเงินประเภทต่าง ๆ ตามหลักบัญชีส่วนราชการ ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
- ทำบัญชีลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการ และเงินยืมนอกงบประมาณ
- ลงทะเบียนรายจ่ายย่อยตามงบประมาณ
- ลงทะเบียนรายจ่ายเงินรับฝากต่าง ๆ
- จัดทำรายงานการเงินทุกประเภท
- จัดทำงบเดือนเงินงบประมาณทุกหมวด
- จัดทำงบเดือนรายได้ของหน่วยงาน
- จัดทำทะเบียนการชำระเงินค่าบำรุงของนิสิต
- ดำเนินการรวบรวมรายละเอียด ตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของหน่วยงาน
- รวบรวมรายละเอียดเสนอตั้งงบประมาณประจำปี
- ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณสำหรับหน่วยงาน
- ดำเนินการจัดสรรเงินไปตั้งจ่ายทางจังหวัดสำหรับหน่วยงานในสังกัด
- ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ
- ดำเนินการขอโอน เปลี่ยนแปลงหมวดเงินงบประมาณ เมื่อจำเป็น
- ดำเนินการขออนุมัติกันเงิน ตัดฝาก ขยายเวลาตัดฝาก เงินงบประมาณ
- ดำเนินการ ขออนุมัติจัดซื้อ จ้างทำ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ
- ดำเนินการ จัดทำสัญญาซื้อขาย จ้างทำวัสดุครุภัณฑ์ ตลอดจนสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
ค. งานเกี่ยวกับพัสดุครุภัณฑ์
- ดำเนินการ จัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน
- ดูแลรักษา ซ่อมแซม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน
- ดูแลรักษาซ่อมแซมยานพาหนะ
- ดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ
- จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์
- จัดทำบัญชีพัสดุ
- เขียนหมายเลขประจำครุภัณฑ์
- จ่ายพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
- เก็บรักษาทะเบียนยานพาหนะ
- สำรวจวัสดุครุภัณฑ์คงเหลือ
- จัดทำรายงานการสำรวจทรัพย์สิน
- จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี

ง. งานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
- ตรวจนับเงินสดคงเหลือประจำวันที่ทำการตรวจสอบ
- ตรวจหลักฐานการรับเงิน
- ตรวจหลักฐานและใบสำคัญการจ่ายเงิน
- ตรวจสอบการลงบัญชีต่าง ๆ
- ตรวจสอบทะเบียนต่าง ๆ
- ตรวจสอบบัญชีพัสดุครุภัณฑ์
- ตรวจสอบหลักฐานการฝากเงินกับธนาคาร
- รายงานการตรวจสอบและเสนอแนะวิธีการแก้ไข
ในการปฏิบัติ อาจจะมีเปลี่ยนแปลงแนวการจัดงานต่างไปจากข้างต้นที่กล่าวมาบ้างทั้งนี้แล้วแต่ผู้บริหารที่จะพิจารณาตามขนาด และงานที่ต้องปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น