08 สิงหาคม, 2552

การบริหารงบประมาณ

การบริหารงบประมาณ
ความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และ (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ )
มาตรา ๓๙ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้าน วิชาการ งบประมาณ การบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๐
๑. ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหาร ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี

หลักการและแนวคิด
๑. ยึดหลักความเสมอภาคทางโอกาสการศึกษาของผู้เรียนในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรัฐจัดสรรเงินอุดหนุน เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับสถานศึกษาของรัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกันและจัดสรรเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนที่มีลักษณะพิเศษตามความจำเป็น
๒. มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการจัดการงบประมาณโดยให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีความอิสระควบคู่กับความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้จากผลสำเร็จของงานและทรัพยากรที่ใช้
๓. ยึดหลักการกระจายอำนาจของการบริหารจัดการงบประมาณโดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นวงเงินรวมแก่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
๔. มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการด้านการเงินทั้ง ๗ ด้าน คือ
๔.๑ การวางแผนงบประมาณ
๔.๒ การคำนวณต้นทุนผลผลิต
๔.๓ การจัดหาระบบการจัดหาพัสดุ
๔.๔ การบริหารทางการเงินการควบคุมงบประมาณ
๔.๕ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
๔.๖ การบริหารสินทรัพย์
๔.๗ การตรวจสอบภายใน

การจัดทำแผนงบประมาณ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การจัดทำแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning)
๑. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติและของสพฐ.และสพท. จัดทำเป็นแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือแผนกลยุทธ์ ๓-๕ ปี ครอบคลุมการพัฒนาด้านผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการและชุมชน
๒. จัดวางทิศทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าประสงค์ ของโรงเรียน
๓. กำหนดประเด็นกลยุทธ์ของสถานศึกษา แนวทางปฏิบัติตามกลยุทธ์และแนวทางการควบคุมเชิงกลยุทธ์
๔. เสนอขอความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา สถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง
๑. นำประเด็นกลยุทธ์จากแผนพัฒนาการศึกษากำหนดเป็นเป้าความสำเร็จและตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จโดยมีกิจกรรมความสำคัญ(โครงการ) พร้อมเป้าหมายรองรับของปีปัจจุบันล่วงหน้าปีที่ ๑ ปีที่ ๒และปีที่ ๓
๒. นำต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จัดทำตามวิธีที่ สพฐ.กำหนด คูณ เป้าหมายของปีปัจจุบันและล่วงหน้าอีก ๓ ปี เพื่อกำหนดวงเงิน ค่าใช้จ่ายของแผนพัฒนาการศึกษา
๓. คำนวณรายรับที่จะได้มาซึ่งงบประมาณและเงินระดมทรัพยากรของสถานศึกษาจากการนำต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อนักเรียนตามระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย คูณ นักเรียนตามแผนชั้นเรียนทีละภาคเรียน เพื่อให้ทราบกรอบวงเงินที่ใช้ปรับค่าใช้จ่ายของแต่ละปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น