08 สิงหาคม, 2552

เกณฑ์และแนวปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน

สพฐ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหาร
จัดการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้
เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ค่าใช้จ่ายรายหัว)
เกณฑ์การจัดสรร มีดังนี้
1. ระดับก่อนประถม คนละ 600 บาท ต่อคน/ปี
2. ระดับประถมศึกษา คนละ 1,100 บาท ต่อคน/ปี
3. ระดับมัธยมศึกษา คนละ 1,800 บาท ต่อคน/ปี
4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คนละ 2,700 บาท ต่อคน/ปี
แนวทางการใช้เงินงบประมาณ
1. ให้สถานศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบาย
และจุดเน้นของ สพฐ.
2. เสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีของต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อผ่านความเห็นชอบ
3. รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สาธารณชนได้ทราบ
4. การใช้จ่ายงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา
ลักษณะการใช้งบประมาณ
การใช้งบประมาณเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการค่าใช้จ่ายในการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) ให้ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ในลักษณะ 3
ประเภทงบรายจ่าย ดังนี้
1.งบบุคลากร
1.1 ค่าจ้างชั่วคราว เช่น จ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ ฯลฯ
2.งบดำเนินงาน
2.1 ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น ฯลฯ
2.2 ค่าใช้สอย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าจ้างเหมาบริการ ฯลฯ
2.3 ค่าวัสดุ เช่น ค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ฯลฯ
2.4 ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
3. งบลงทุน
3.1 ค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯ
3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบดัดแปลง ต่อเติมหรือปรับปรุง ที่ดินและ
หรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บาท เช่น ค่าถมที่ดิน ถมถนน จัดทำรั้ว ฯลฯ
เงินอุดหนุนค่า ใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนยากจน)
เป็นเงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจน เพื่อจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เป็นการช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น
*นักเรียนยากจน หมายถึง นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 40,000.00 บาท ต่อปี*
เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้นักเรียนที่ยากจน ในสังกัด สพฐ. ยกเว้น สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ลักษณะการใช้งบประมาณการใช้งบประมาณเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปรายการเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน ให้ใช้ในลักษณะ ถัวจ่าย เป็นค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนักเรียน ค่าอาหารกลางวัน และค่าพาหนะในการเดินทาง

การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
สถานศึกษาสามารถเลือกวิธีดำเนินการจ่ายหรือจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
1. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน จัดซื้อแจกจ่ายให้แก่นักเรียน หรือให้ยืมใช้
2. ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน จัดซื้อหรือจัดจ้างผลิต แจกจ่ายให้แก่นักเรียน
3. ค่าอาหารกลางวัน จัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร หรือจ่ายเป็นเงินสด
ให้แก่นักเรียนโดยตรง
4. ค่าพาหนะในการเดินทาง มีแนวทางการใช้จ่าย ดังนี้
4.1 กรณี จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย
3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน
4.2 กรณี การจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน ให้ดำเนินการจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แนวทางการดำเนินงาน
ระดับสถานศึกษา
1. สำรวจข้อมูลนักเรียนยากจน และรายงาน สพท. เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
2. จัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3. ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนยากจน
4. รายงานข้อมูลผลการดำเนินการ
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. รวบรวมข้อมูลนักเรียนยากจนจากสถานศึกษา และรายงาน สพฐ.
2. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูล และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทนที่จัดการเรียนการการสอนแต่ละช่วงชั้นตามความเหมาะสม
3. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงานเงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน เป็นเงินงบประมาณที่จัดสรรเป็นค่าอาหารให้แก่สถานศึกษาที่ได้ดำเนินการจัดที่พัก ให้แก่นักเรียนเกณฑ์การจัดสรร จัดสรรให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สถานศึกษาจัดที่พักให้
ลักษณะการใช้งบประมาณ ใช้เป็นค่าอาหาร สำหรับนักเรียนประจำพักนอน
การใช้จ่ายงบประมาณ
1. ให้สถานศึกษาจ่ายหรือจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนประจำพักนอน โดยสามารถเลือกวิธีดำเนินการ
ได้ ดังนี้
1.1 จัดซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร โดยให้ดำเนินการตามระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.2 จ่ายเป็นเงินสดให้กับนักเรียน โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน
ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
2. หากมีเงินงบประมาณคงเหลือ สามารถนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารให้
แก่นักเรียนได้
แนวทางการดำเนินงาน
มีลักษณะเช่นเดียวกับ เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน)โครงการจ่ายเงินอุดหนุน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) ให้โรงเรียนโดยตรง
สพฐ. มีนโยบายที่จะให้โรงเรียนที่ได้รับเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)
ได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน และโรงเรียนสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างคล่องตัว
ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ทำโครงการจ่ายเงินอุดหนุน (รายหัว)
ให้กับโรงเรียนโดยตรง ซึ่งได้คัดเลือก สพท. เพื่อนำร่องโครงการดังกล่าว รวม 14 เขต ประกอบด้วย ชลบุรี
เขต 1-3 นนทบุรี เขต 1-2 พัทลุง มหาสารคาม เขต 1-2 ลำปาง เขต 1-3 และ กทม. เขต 1-3 รวม 1,998
โรงเรียน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 และขณะนี้ สพฐ. ได้โอนเงินให้กับโรง
เรียนเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 706,829,100 บาท สำหรับ สพท. ที่มิได้นำร่อง สพฐ. จะโอนเงินงบ
ประมาณไปตั้งจ่าย ณ สพท. และให้ สพท. เบิกจ่ายเงินให้กับโรงเรียนต่อไป และในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2549 สพฐ. จะดำเนินการโอนเงินอุดหนุน (รายหัว) ให้กับโรงเรียนในสังกัดทุกโรง ดังนั้น จึงขอให้ สพท.
จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวกับรายชื่อโรงเรียน จำนวนนักเรียน ชื่อธนาคาร ชื่อบัญชีธนาคาร และเลขที่บัญชีธนาคารว้ให้ถูกต้องและครบถ้วน


หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะการเดินทางไปราชการ ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
1.1 การเดินทางไปราชการชั่วคราว
1.2 การเดินทางไปราชการประจำ
1.3 การเดินทางกลับภูมิลำเนา
2. การเดินทางไปต่างประเทศ
1.1 การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
2.2 การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ
ในที่นี้ขอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราช
อาณาจักร
การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. การไปปฏิบัติราชการชั่วคราว นอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่ง
ผู้บังคับบัญชาหรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการปกติ
2. การไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
3. การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่งหรือไปรักษาราชการแทน
4. การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการ
ประจำต่างประเทศ
5. การเดินทางข้ามแดนชั่วคราวเพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตาม
ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักร ได้แก่
1. ข้าราชการ
2. ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย

สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
1. ต้องได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ โดยผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติระยะเวลา
ในการเดินทางไปราชการตามความจำเป็นและเหมาะสม
2. ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทาง ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการแล้ว
3. ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงขึ้น ภายหลังวันที่ได้เดินทางไปราชการแล้ว ให้มีสิทธิที่จะรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับที่สูงขึ้นนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวแม้คำสั่งนั้นจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงหรือก่อนวันออกเดินทางก็ตาม
4. ข้าราชการซึ่งเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งที่สูงขึ้นให้ได้รับาใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนรวมทั้งการเดินทางกลับมาดำรงตำแหน่งเดิมให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในกรณีเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งระดับที่ต่ำกว่าให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราสำหรับตำแหน่งระดับที่ตนดำรงอยู่
5. การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีเหตุอันควรไม่มีสิทธิได้รับค่า
ใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับระยะเวลาที่หยุดนั้นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักรเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบอำนาจการอนุมัติการเดินทางไปราชการให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 6/2546 สั่ง ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546

ผู้เดินทาง การไปราชการ ผู้อนุมัติ
1. ข้าราชการ ลูกจ้างในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. ข้าราชการ ลูกจ้างในสถานศึกษา - ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
3. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
อนุมัติตนเองแล้วรายงานให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบในเวลาอันควรหรือเดือนละหนึ่งครั้ง
4. ผู้อำนวยการสถานศึกษา - ในเขตจังหวัด
- นอกเขตจังหวัด
อนุมัติตนเองแล้วรายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบในเวลาอันควรหรือเดือนละหนึ่งครั้ง
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2. ค่าเช่าที่พัก
3. ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ
ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม
4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่าย เนื่องในการเดินทางไปราชการ เช่นค่าปะยาง ค่าผ่านทาง
ด่วน
1. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
เบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลัง
กำหนด
1.1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบิกได้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยกำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงไว้ 2
ประเภท คือ ประเภท ก และ ประเภท ข
(หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.4/ว 103 ลงวันที่ 28 กันยายน 2544)
บาท : วัน
ข้าราชการ ประเภท ก. ประเภท ข.
ระดับ 1-2 120 72
ระดับ 3-8 180 108
ระดับ 9 ขึ้นไป 240 144
หมายเหตุ ประเภท ก ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
2. การเดินทางไปราชการจากอำเภอหนึ่งไปอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกันประเภท ข ได้แก่
1. การเดินทางไปราชการระหว่างอำเภอในจังหวัดเดียวกันเว้นแต่อำเภอเมือง
2. การเดินทางไปราชการจากอำเภอเมืองไปอำเภออื่นๆ ในจังหวัดเดียวกัน
3. การเดินทางไปราชการในเขตอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงาน ซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
4. การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานปฏิบัติราชการปกติ
1.2 เงื่อนไขการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
1.2.1 การเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกันให้เบิก
เบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย
1.2.2 ในกรณีผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อการรักษาพยาบาลให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ไม่เกิน 10 วัน และต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ
1.3 การนับเวลาเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่ หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี ดังนี้
1.3.1 การเดินทางที่มีการพักแรมให้นับ 24 ชั่วโมง เป็น 1 วัน กรณีไม่ถึง 24 ชั่วโมงหรือเกิน 24 ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชั่วโมง ถ้านับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน
1.3.2 การเดินทางที่มิได้มีการพักแรม หากนับเวลาได้ไม่ถึง 24 ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน หากนับได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมง ขึ้นไปให้นับเป็นครึ่งวัน
กรณีมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่
ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานเพราะมีเหตุส่วนตัว ให้นับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยง ดังนี้
(ก) ลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการ
(ข) ลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการมีสิทธิเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ
2. การเบิกค่าเช่าที่พัก
การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ภายในวง
เงินและเงื่อนไข ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2.1 กระทรวงการคลังกำหนดอัตราค่าเช่าที่พักตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุดที่ กค 0409.6/ว 164 ลงวันที่ 31 ต.ค.2548 แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2548 ควบคุมการเบิกจ่ายค่าที่พักในการเดินทางไปราชการดังนี้
ข้าราชการ หนังสือกระทรวงการคลัง
ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 164
ลงวันที่ 31 ต.ค.2548
มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย
ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/1303
ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548
ระดับ 8 ลงมา -เหมาจ่ายไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน - พักเดี่ยวคนละไม่เกิน 1,000 บาท
ต่อวัน
- กรณีเดินทางเป็นคณะให้พักคู่คนละไม่เกิน 600 บาทต่อวัน
ระดับ 9 -เหมาจ่ายไม่เกิน 2,200 บาทต่อวัน - เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน
ระดับ 10ขึ้นไป -เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,500 บาทต่อวัน
- เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,000 บาทต่อวัน

หมายเหตุ การพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่ทางราชการจัดไว้ให้แล้ว เบิกค่าเช่าที่พักไม่ได้
2.2 เงื่อนไขการเบิกค่าเช่าที่พัก
2.2.1 การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการที่ไม่สะดวกในการเดินทางไป กลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้ไม่เกิน 120 วัน
นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย
2.2.2 กรณีผู้เดินทางเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาลให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับ
วันที่พักนั้นได้แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 วันกรณีผู้เดินทางเจ็บป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาลให้งดเบิกค่าเช่าที่พักเว้นแต่กรณีจำเป็นการเจ็บป่วยตามข้อ 2.2.2 ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ
3. การเบิกค่าพาหนะ
การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงโดย
ประหยัด และไม่เกินสิทธิที่พึ่งได้รับตามประเภทของยานพาหนะที่ใช้เดินทางยานพาหนะประจำทางได้แก่
1. รถไฟ
2. รถโดยสารประจำทาง
3. ยานพาหนะอื่นใดที่ถือเป็นยานพาหนะประจำทางต้องเข้าหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังนี้
3.1 ให้บริการขนส่งแก่บุคคลทั่วไปเป็นประจำ
3.2 มีเส้นทางแน่นอน
3.3 มีอัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่แน่นอน
(ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทาง พ.ศ.2533)
1. หลักเกณฑ์การเบิกค่ารถไฟ
ข้าราชการ รถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน/ด่วนพิเศษ
ระดับ 1-2 - ชั้น 3 - ชั้น 3/ ชั้น 3 นั่งปรับอากาศ
- ชั้น 3 (ถ้าไม่มีชั้น 3 ให้นั่งชั้น 2 ธรรมดาได้)
ระดับ 3ขึ้นไป - ชั้น 2 - ชั้น 2 นั่งธรรมดา/นั่ง
ปรับอากาศ/นั่งนอนธรรมดา
- ชั้น 2 นั่งธรรมดา/นั่งปรับอากาศ/นั่งนอนธรรมดา
ระดับ 5ขึ้นไป - - ชั้น 2 นั่งนอนปรับอากาศ
- ชั้น 2 นั่งนอนปรับอากาศ
ระดับ 7ขึ้นไป - - - ชั้น 1 นั่งนอนปรับอากาศ
2. หลักเกณฑ์การเบิกค่ารถโดยสารประจำทาง
ประเภทรถ ผู้มีสิทธิเบิก
- รถโดยสารประจำทางธรรมดา
- รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2
- รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 มาตราฐาน1(ข)
ข้าราชการทุกระดับ
- รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 ชนิดไม่เกิน 24 ที่นั่ง
มาตราฐาน1(ก)
ระดับ 5 ขึ้นไป
กรณีไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการให้ใช้
ยานพาหนะอื่นได้แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในรายงานการเดินทาง หรือหลัก
ฐานการขอเบิกยานพาหนะนั้น
การเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะรับจ้าง
สิทธิในการเบิกค่าพาหนะรับจ้าง
1. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่าให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีดัง
ต่อไปนี้
(ก) การเดินทาง ไป-กลับ ระหว่าง ที่อยู่ ที่พักหรือสถานที่ปฏิบัติราชการ กับ สถานียาน
พาหนะประจำทางหรือกับสถานที่จัดยานพาหนะ ที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ
ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน ถ้าการเดินทางดังกล่าวเป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัดให้เบิกค่าพาหนะรับ
จ้างได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
(ข) การเดินทาง ไป-กลับ ระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับ สถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกิน 2 เที่ยว
(ค) การเดินทางไปราชการในเขต กทม.
2. ข้าราชการระดับ 5 ลงมา เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ต้องมีสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของ
เครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทาง ให้
เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้
3. การเดินทางไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือกจะเบิกค่าพาหนะรับจ้าง ไป-กลับระหว่างสถาน
ที่อยู่ ที่พัก กับ สถานที่ปฏิบัติราชการ ภายในเขตจังหวัดเดียวกันไม่ได้
ในกรณีผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทาง
กลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา 8/1 ให้เบิก
ค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีเดินทางนอกเส้นทางใน
ระหว่างการลาให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทาง
ไปราชการ


อัตราการเบิกค่ายานพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด
กระทรวงการคลังได้กำหนดอัตราการเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัดตามหนังสือกระทรวง
การคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 127ลงวันที่ 9 กันยายน 2548 แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2548 ดังนี้
ค่าพาหนะรับจ้าง หนังสือกระทรวงการคลัง
ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 127ลงวันที่ 9 กันยายน 2548
มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่าย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/1303 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548
1. เดินทางข้ามเขตจังหวัด
ระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดที่มีเขตติดต่อกรุงเทพฯ ผู้เดินทางเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินเที่ยวละไม่เกิน
2. เดินทางข้ามเขตจังหวัดอื่นๆ
นอกเหนือจากข้อ 1 ผู้เดินทางเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินเที่ยวละไม่เกิน
400 บาท
300 บาท
300 บาท
200 บาท
การเดินทางไปราชการโดยใช้ยานพาหนะส่วนตัวยานพาหนะส่วนตัว หมายความว่า รถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลซึ่งมิใช่ของทางราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เดินทางไปราชการหรือไม่เงินชดเชยหมายความว่า เงินพาหนะที่เหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ยานพาหนะส่วน
ตัวเดินทางไปราชการการเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะส่วนตัวผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีสิทธิเบิกเงินชดเชยได้ตามอัตราดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท
- รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 1 บาท
การคำนวณระยะทางให้คำนวณตามระยะทางของกรมทางหลวงในระยะสั้นและตรงซึ่งสามารถเดิน
ทางได้โดยสะดวกในกรณีที่มีคำพิพากษาให้ทางราชการต้องรับผิดหรือร่วมรับผิดในค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากอุบัติเหตุเพราะการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในราชการ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบ
ครองหรือผู้ขับจะต้องเข้ามาเป็นผู้ชดใช้แทนหรือชดใช้คืนทางราชการแล้วแต่กรณี(ระเบียบระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
การเดินทางไปราชการโดยใช้เครื่องบิน
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมีหลัก

เกณฑ์ ในการโดยสารเครื่องบิน ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเดินทางโดยเครื่องบินต้องดำรงตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป
2. ผู้เดินทางนอกจากข้อ 1 ให้เดินทางได้เฉพาะกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
3. การเดินทางไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ให้เบิกได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทาง
ภาคพื้นดินในระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรการประหยัดงบประมาณราย
จ่าย พ.ศ. 2548 ในการเดินทางโดยเครื่องบิน ดังนี้
ข้าราชการ
มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่ายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ4002/1303 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548
ระดับ 7
ระดับ 8 ขึ้นไป
เดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost)เดินทางโดยเครื่องบินได้
4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการมีองค์ประกอบดังนี้
1. เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย หากไม่จ่ายไม่อาจเดินทางถึงจุดหมายแต่ละช่วงที่เดินทางไป
ปฏิบัติราชการได้เช่น ค่าปะยาง ค่าผ่านทางด่วน เป็นต้น
2. ต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับหรือหนังสือสั่งการของ
กระทรวงการคลังกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ค่าครุภัณฑ์ ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับหรือหนังสือสั่งการเหล่านั้น
3. ต้องไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเนื้องานที่ไปปฏิบัติราชการ เช่น ค่าซื้อฟิล์มถ่ายรูป (ที่ใช้ในงาน
สำรวจข้อมูลตามหน้าที่ราชการของตน) เป็นต้น
(หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502/ ว 32 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2537)
หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ มีดังนี้
1. บันทึกขออนุมัติเดินทางไปราชการหรืออนุมัติเปลี่ยนแปลง (ถ้ามี) ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ
2. สัญญายืมเงิน
3. ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (แบบ 8708 )
4. ใบเสร็จรับเงินของโรงแรมที่พักและใบแจ้งรายการของโรงแรม (folio) เฉพาะข้าราชการ
ระดับ 10 ขึ้นไปให้แนบหลักฐานด้วย เนื่องจากข้าราชการดังกล่าวมีการเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริง
5. ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
6. ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ บก111.)
7. หลักฐานการจ่ายเงินอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางด่วนพิเศษ

ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
1. ผู้มีอำนาจอนุมัติไม่ระบุวัน......เดือน.......ปี.......ที่อนุมัติ
2. ผู้เดินทางไปราชการเขียนแบบใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ครบถ้วน สมบูรณ์
และถูกต้อง โดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้
- ตามคำสั่ง/บันทึกที่........ลงวันที่.......
- ระบุการรวมเวลาไปราชการ จำนวน........วัน.........ชั่วโมงไม่ถูกต้อง
- การคำนวณวัน เวลา ในการคำนวณเบี้ยเลี้ยงไม่ถูกต้อง
- ชื่อพนักงานขับรถยนต์ และทะเบียนรถยนต์ไม่ตรงกับใบอนุมัติการเดินทาง
3. หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะหลักฐานต่อไปนี้
- ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงระบุทะเบียนรถยนต์ไม่ตรงกับที่ขออนุมัติไว้
วัน....เดือน...ปี....ในใบเสร็จรับเงินมีรอยลบ ขีด ฆ่า หรือมีการแก้ไขโดยไม่ให้ผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน
ลงชื่อกำกับ หรือไม่ได้ใส่จำนวนเงินเป็นตัวอักษร เป็นต้น
หมายเหตุ กรณีเป็นลูกจ้างประจำมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ โดยการเทียบตำแหน่งลูกจ้างประจำว่าตำแหน่งลูกจ้างรายนั้นอยู่ใน
หมวดใด เพื่อเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนว่าอยู่ในระดับใดเพื่อใช้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป
ราชการได้ถูกต้อง

การเทียบตำแหน่งลูกจ้างประจำในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ดังนี้
1. หมวดแรงงาน หมวดกึ่งฝีมือ เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 1
เช่น นักการภารโรง ยาม คนงาน เป็นต้น
2. หมวดฝีมือ หมวดฝีมือพิเศษระดับต้น เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 2
เช่น พนักงานขับรถยนต์ ครูสอนดนตรี เป็นต้น
3. หมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง เช่น ครูชั้น 3 เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3
หมวดฝีมือพิเศษระดับสูง เช่น ครูชั้น 4 เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3
หมวดฝีมือพิเศษเฉพาะ (ไม่มี) เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3
(หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0502/ว150 ลงวันที่ 28 กันยายน 2535)
ยกเว้น ลูกจ้างซึ่งเคยมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เทียบเท่าข้าราชการระดับ 3
อยู่ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2535 ให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเทียบเท่าข้าราชการระดับ 3
ต่อไป(หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0502/ว32 ลงวันที่ 5 เมษายน 2536)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น