08 สิงหาคม, 2552

รายได้สถานศึกษา

รายได้สถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534โดยให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล* และสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล** บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและบัญชีในส่วนที่เป็นรายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 วรรค3 กำหนดให้ “ บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากที่
ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ ” ซึ่งหมายความว่า เงินรายได้สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่บรรดารายได้ ผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ เงินที่มีผู้มอบให้ (ทั้งระบุวัตถุประสงค์ชัดแจ้งและไม่ระบุวัตถุประสงค์) และเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับสถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 59 วรรค 4 กำหนดให้ “ บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณให้สถานศึกษาสามารถจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดารศึกษาของสถานศึกษานั้นๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด ” ซึ่งหมายความว่าเงินรายได้สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ บรรดารายได้ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุซึ่งได้เนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงเงินงบประมาณรายจ่ายดังนั้น เงินรายได้ของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล จึงมีข้อแตกต่าง ดังนี้
1) เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้าง
ทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ ซึ่งสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลสามารถนำเงินดังกล่าวเป็นรายได้ของสถานศึกษาโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนสถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคลยังต้องนำเงินดังกล่าวนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
2) เงินที่ผู้มอบให้โดยระบุวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง ไม่ถือเป็นรายได้ของสถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล
การรับเงินและการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษาการรับเงินและการเก็บรักษาเงิน
* สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล หมายถึง สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
** สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล หมายถึง โรงเรียน วิทยาลัย หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
ซึ่งมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และให้หมายรวมถึงสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่กระทรวงการคลังกำหนด
การรับเงินและการเก็บรักษาเงิน
สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงินเว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนด และต้องควบคุมใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้สำหรับการเก็บรักษาเงิน ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินสดและเงินฝากธนาคารไว้เพื่อสำรองใช้จ่ายได้ภายในวงเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง(หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0414/07509 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ) ส่วนที่เกินให้นำฝากกรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังจังหวัด/สำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ แล้วแต่กรณี สำหรับดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นผลประโยชน์ที่สถานศึกษาสามารถเก็บเป็นกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 59 วรรคสาม
การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายเงิน
1) ให้นำไปใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง
กับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแห่งนั้น ยกเว้นเงินรายได้สถานศึกษาในส่วนที่เป็นเงินที่มีผู้มอบให้สถานศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง ให้นำไปจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะในกิจการที่ผู้มอบระบุวัตถุประสงค์ในการใช้เงินเท่านั้นห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) ให้สถานศึกษานำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง
กับการจัดการศึกษาได้ตามหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการ ดังนี้
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล
1. ให้ใช้จ่ายในการจัดการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษา ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ให้ใช้จ่ายเงินตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้เรียน ความคุ้มค่า ความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
2. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ในส่วนที่เป็นเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง ให้นำไปใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะในกิจการที่ผู้มอบระบุวัตถุประสงค์เท่านั้น
2. การใช้จ่ายเงินรายได้ ให้กระทำได้เฉพาะรายจ่ายที่พึงจ่ายได้จากเงินงบประมาณรายจ่ายตามเกณฑ์ ดังนี้
2.1 รายจ่ายงบดำเนินงาน ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
2.2 รายจ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์เฉพาะที่จำเป็นแก่การปฏิบัติราชการ สำหรับสถานศึกษาที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 500,000 บาท
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล(ต่อ) สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล(ต่อ)
2.3 รายจ่ายประเภทค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 5,000,000 บาท
2.4 รายจ่ายเพื่อสมทบค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณที่สำนักงบประมาณกำหนด*
3. การใช้จ่ายเงินนอกเหนือจาก ข้อ 2 ให้สถานศึกษาดำเนินการได้ดังนี้
3.1 รายจ่ายงบบุคลากร รายการค่าจ้างชั่วคราวเฉพาะกรณีสถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
3.2 รายจ่ายงบดำเนินงาน ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
3.3 รายจ่ายเงินอุดหนุน สำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจนและขาดแคลน
3.4 รายจ่ายงบลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับรายการค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 1,000,000 บาท และรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่ำกว่า 10,000,000 บาท
3.5 รายจ่ายเพื่อสมทบรายการค่าครุภัณฑ์ หรือรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณที่ทางราชการกำหนด*
3. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษาในประเภทต่อไปนี้ ให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.1 รายจ่ายประเภทค่าจ้างชั่วคราว
3.2 รายจ่ายงบดำเนินงานที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
3.3 รายจ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์ ที่มีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่500,000 บาท ฃึ้นไป
3.4 ราจ่ายประเภทค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่ 5,000,000 บาทขึ้นไป
* ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจโอนและเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับจัดสรรภายใต้แผนงานเดียวกัน รวมถึงการนำเงินนอกงบประมาณ ไปเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ และรายการสิ่งก่อสร้างไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล(ต่อ) สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล(ต่อ)
4. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อเป็นเงินยืม ให้ดำเนินการได้ดังนี้
4.1 การยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการของสถานศึกษา
4.2 การดำเนินงานเพี่อจัดหารายได้ของสถานศึกษา
4.3 การยืมเพื่อทดรองจ่ายเกี่ยวกับเงินสวัสดิการของข้าราชการและลูกจ้างของสถานศึกษา เฉพาะในส่วนที่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณมาชดใช้เงินรายได้สถานศึกษาได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร เป็นต้น
4. การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อเป็นเงินยืม ให้กระทำได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
4.1 การยืมเพื่อทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการหรือจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา
4.2 การยืมเงินเพื่อใช้ทดรองจ่ายในกรณีอื่น ๆ ที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีหนังสือที่ ศธ 04002/1987 ลงวันที่15 มกราคม 2548 ให้สถานศึกษา/ศูนย์การศึกษาพิเศษสามารถพิจารณาให้ยืมเงินรายได้สถานศึกษาเพื่อทดรองจ่ายเกี่ยวกับเงินสวัสดิการของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดได้เฉพาะในส่วนที่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณมาชดเชยเงินรายได้สถานศึกษาได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตรเป็นต้น
5. กรณีสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล มีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ให้ขอความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานการเงิน การบัญชี การพัสดุวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยอนุโลมสำหรับการรายงานเงินรายได้ของสถานศึกษา ให้ดำเนินการดังนี้
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคลให้รายงานการรับ-จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบทุกสิ้นปีการศึกษา(เอกสารดังแนบ)เมื่อปิดบัญชีประจำปีแล้ว ให้ส่งงบการเงินไปให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณการมอบอำนาจเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบอำนาจการอนุมัติการจ่ายเงิน การอนุมัติการจ่ายเงินยืมการก่อหนี้ผูกพัน การสั่งซื้อสั่งจ้าง และการดำเนินการทั้งปวงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ครั้งละไม่เกิน 10 ล้านบาท
2) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งละไม่เกิน 12 ล้านบาท
3) ผู้อำนวยการสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งละไม่เกิน 12 ล้านบาท
4) ผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งละไม่เกิน 15 ล้านบาท
5) ที่ปรึกษาที่รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งละไม่เกิน 20 ล้านบาท
6) รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งละไม่เกิน 25 ล้านบาท
7) นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตาม ข้อ 1) - ข้อ 6) ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ เป็นไปตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 161/2549 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับรายได้สถานศึกษา สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549เอกสารอ้างอิง
1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินรายได้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล พ.ศ.2546
2. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรรเป็น
ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2547
3. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถาน
ศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
4. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้
สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
5. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0414/ว 7509 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2549 เรื่อง การทบทวนเพิ่มวงเงินราย
ได้สถานศึกษาเก็บไว้ ณ ที่ทำการ
6. คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 161/2549 เรื่อง การมอบอำนาจเกี่ยวกับเงินรายได้
สถานศึกษา สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
7. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548
8. คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 1163/2548 เรื่อง มอบอำนาจการเปลี่ยนแปลงงบ
ประมาณ สั่ง ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548

2 ความคิดเห็น:

  1. เขียนได้ดีครับ เพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป

    ตอบลบ
  2. ทำอย่างไรถ้าเจ้าหน้าที่การเงินทำเงินเรื่องรายได้สถานศึกษาแบบผิดๆ แต่ละปีเงินรายได้สถานศึกษาของนักเรียนหากเหลือจ่ายควรอยู่ที่ใหน

    ตอบลบ